การจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลดอนกลาง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

Authors

  • ปิยธิดา โคกโพธิ์ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Keywords:

local educational management, local governance, functional transfer, การจัดการศึกษาท้องถิ่น, การบริหารจัดการท้องถิ่น, การถ่ายโอนภารกิจ

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์คือเพื่อศึกษาแนวทางในการจัดการศึกษา และมุมมองของประชาชนต่อการจัดการศึกษาของ อบต.ดอนกลาง ใช้วิธีการศึกษาทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ผลการศึกษาพบว่า แนวทางในการจัดการศึกษาคือ 1) หลังมีการถ่ายโอนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของ อบต. ในปี พ.ศ. 2550 มีแนวคิดในการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสู่โรงเรียนอนุบาล 2) อบต.ให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องและเน้นโภชนาการตามช่วงวัย 3) มีแนวทางในการจัดการเรียนการสอนบนฐานท้องถิ่นและการสร้างความร่วมมือในการจัดการศึกษา ด้านความเห็นของประชาชน 200 คน ต่อการจัดการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในภาพรวมโดยให้ประเมิน 10 คะแนน พบว่า 1) ด้านการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเฉลี่ย 8.35 2) ด้านบุคลากรในศูนย์พัฒนาเด็ก เฉลี่ย 8.54 3) ด้านอาคารสถานที่สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยกลุ่มตัวอย่างเฉลี่ย 8.84 4) ด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตรเฉลี่ย 8.32 5) ด้านการมีส่วนร่วมและการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนเฉลี่ย 8.46 6) ด้านการส่งเสริมเครือข่ายการพัฒนาเด็กปฐมวัยเฉลี่ย 8.11 โดยรวมประชาชนมีมุมมองที่ดีต่อการจัดการศึกษาของอบต.และต้องการให้จัดตั้งเป็นโรงเรียนอนุบาล ทั้งนี้ข้อจำกัดคือที่ตั้งของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ไม่ใช่พื้นที่ของอบต.ดอนกลางทำให้ไม่สามารถจัดตั้งเป็นโรงเรียนอนุบาลได้

 

Guidelines for Local Educational Management: A Case Study of Don Klang Sub-District Administration Organization, Kosum Phisai District in Maha Sarakham Province

This research aimed to examine guidelines for local educational management and the public’ attitudes toward local educational management of Don Klang Sub-district Administrative Organization (Don Klan SAO). Research methods included document analysis, interviews, and a survey of 200 people.

Results showed that: 1) Donklang SAO started developing a child development center to become a kindergarten since it was transferred in 2007; 2) the SAO has continuously supported local education and emphasized on nutrition promotion for children of all ages; and 3) the SAO employed a local-based and participatory approach to teaching and learning.

Results from the survey with a 10-point rating scale questionnaire indicated that: 1) the management of child development center scored 8.35; 2) human resource in the child development center, 8.54; 3) building safety and environment, 8.84 4) academic courses and activities, 8.32; 5) public participation and supports, 8.46; and 6) promotion of early child development network, 8.11.  Overall people in the area had positive opinion on educational management of Don Klang SAO and wanted to establish a kindergarten.  A limitation for future development was that the child development center is not located in Don Klang SAO’s jurisdiction. Therefore, the SAO could not establish a kindergarten.   

Downloads

Published

2017-07-07

How to Cite

โคกโพธิ์ ป. (2017). การจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลดอนกลาง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. Local Administration Journal, 10(2), 110–126. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/colakkujournals/article/view/92092