การพัฒนาการจัดการเรียนรู้รายวิชาทัศนศิลป์ เรื่องการวาดการ์ตูน Super Deformation (SD) ตามแนวคิดของ Davis ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Authors

  • สิปปกร นิติกิจดำรง (Sippakorn Nitikijdamrong
  • ดร.ศิริพงษ์ เพียศิริ (Dr.Siribhong Bhiasiri)

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้รายวิชาทัศนศิลป์ เรื่องการวาดการ์ตูน Super Deformation (SD) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  2) เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้รายวิชาทัศนศิลป์เรื่อง การวาดการ์ตูน Super Deformation (SD) ตามแนวคิดของ Davis และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนในการจัดการเรียนรู้รายวิชาทัศนศิลป์เรื่อง การวาดการ์ตูน Super Deformation (SD) ตามแนวคิดของ Davis  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนมารีย์แก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 31 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน Action Research เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาทัศนศิลป์เรื่องการวาดการ์ตูน SD ตามแนวคิดของ Davis จำนวน 9 แผน รวมเวลา 9 ชั่วโมง 2) แบบฝึกทักษะการวาดการ์ตูน SD 3) แบบสังเกตการปฏิบัติงาน 4) แบบสะท้อนผลการเรียนรู้ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจและ 6) แบบประเมินผลงาน ผลการวิจัยพบว่า  1) ผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้รายวิชาทัศนศิลป์เรื่อง การวาดการ์ตูน Super Deformation (SD) ตามแนวคิดของ Davis นักเรียนมีการพัฒนาการ  ในการวาดการ์ตูน SD เพิ่มมากขึ้น นักเรียนส่วนใหญ่มีทัศนคติกับครู การจัดการเรียนรู้และการการทำงานในทางที่ดี  2) ผลการจัดการเรียนรู้รายวิชาทัศนศิลป์ พบว่า มีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ 31 คน คิดเป็นร้อยละ 100 มีผลคะแนนเฉลี่ย 14.23 คิดเป็นร้อยละ 88.22 ของคะแนนเต็มผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ ร้อยละ 80 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ค่าเฉลี่ย 4.49 อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านที่ 3 ความพึงพอใจเกี่ยวกับบรรยากาศในการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะการวาดการ์ตูน SD ค่าเฉลี่ย 4.52 อยู่ในระดับดีมาก

 

ABSTRACT

The purposes of this research were aimed at 1) developing the learning management of Visual Art Subject in terms of cartoon drawing entitled Super Deformation (SD) of Primary 4 students, 2) studying the result of learning management of Visual Art Subject in terms of cartoon drawing entitled SD conforming to Davis' Concept, and 3) studying student's satisfaction of learning management of Visual Art Subject in terms of cartoon drawing entitled SD conforming to Davis' Concept. The sample consisted of 31 Primary 4 students in semester 1 of academic year 2016 of Marie Kaeng Khro School, Chaiyaphum Province. The sample procedure was by Purposive Sampling. This research was Action Study. The instruments used in this research were 1) 9 plans of learning management plans of Visual Art Subject in terms of cartoon drawing entitled SD conforming to Davis' Concept, timing 9 hours, 2) cartoon drawing exercises of SD, 3) practice observation form, 4) reflection forms of learning outcome, 5) questionnaire, and 6) evaluation form. The research results were as follows:

1. The result of developing the learning management of Visual Art Subject in terms of cartoon drawing entitled Super Deformation (SD) conforming to Davis' Concept was found that students developed increasingly in cartoon drawing and most of them had the satisfactory attitude with the teacher in learning management and working,

2. The result of learning management of Visual Art Subject was found that 31 students passed 100 percent based on standard. The score average was 14.23 by 88.22 percent in which the identified based on standard was 80 percent.

3. The result of student's satisfaction was in strongly agree level with 4.49. The highest average was part3. The satisfaction of teaching atmosphere by using SD drawing exercises was in the greatest level with 4.52.

Downloads

Published

2017-09-30

How to Cite

(Sippakorn Nitikijdamrong ส. . น., & (Dr.Siribhong Bhiasiri) ด. . เ. (2017). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้รายวิชาทัศนศิลป์ เรื่องการวาดการ์ตูน Super Deformation (SD) ตามแนวคิดของ Davis ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. KKU Research Journal (Graduate Studies) Humanities and Social Sciences, 5(1), 1–9. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/gskkuhs/article/view/100471

Issue

Section

บทความวิจัย (Articles)