การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้การถ่ายภาพสร้างสรรค์ของนักศึกษาสาขาวิชาศิลปศึกษาโดยใช้เทคนิคห้องเรียนกลับด้าน (The Development of Learning Activities in Creative Photography for Students in Art Education by Using Flipped Classroom Technique)

Authors

  • กัญณภัทร อรอินทร์ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ดร.ศิริพงษ์ เพียศิริ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

ศตวรรษที่ 21, ห้องเรียนกลับด้าน, ความคิดสร้างสรรค์, 21st Century, Flipped classroom, Creative thinking

Abstract

การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้การถ่ายภาพสร้างสรรค์ของนักศึกษาสาขาวิชาศิลปศึกษาโดยใช้เทคนิคห้องเรียนกลับด้าน พบว่า จากผลการประเมินผลงานของนักศึกษารวม 9 แผนการจัดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 83.25 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 4.55 มี 7 แผนการจัดการเรียนรู้ที่นักศึกษามีผลการประเมินผลงานผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ตามที่ตั้งไว้ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9, แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 8, แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2, แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7,แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1, แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 และ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 92.14, 87.68, 85.95, 84.98, 80.47 และ 80.47 ตามลำดับ และมี 2 แผนการจัดการเรียนรู้ที่นักศึกษามีผลการประเมินผลงานไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ตามที่ตั้งไว้ ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง 3D photography ถ่ายภาพสามมิติ และแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 เรื่อง Cloud Photography ถ่ายภาพก้อนเมฆ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 73.09 และ 67.14 นอกจากนี้ปัญหาและอุปสรรคที่พบคือนักศึกษาบางคนไม่มี Application สำหรับการถ่ายภาพ 3D photography ถ่ายภาพสามมิติ และสภาพภูมิอากาศไม่เอื้ออำนวย ต่อการเรียนรู้การถ่ายภาพ Cloud Photography ถ่ายภาพก้อนเมฆ ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาสาขาวิชาศิลปศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้การถ่ายภาพสร้างสรรค์โดยใช้เทคนิคห้องเรียนกลับด้าน ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดรูปแบบการจัดการเรียนรู้การถ่ายภาพสร้างสรรค์โดยใช้เทคนิคห้องเรียนกลับด้านในด้านอาจารย์ผู้สอนที่ระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 4.00 รองลงมาคือด้านบรรยากาศด้านกิจกรรมการเรียนรู้และด้านประโยชน์ที่ได้รับ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 3.90 เท่ากัน

The research findings found that: The average score of the students’ works in 9 lesson plans was 83.25% (S.D. 4.55). Seven lesson plans which students’ works passed the set criteria 80% were lesson plans 9, 8, 2, 7, 1, 4, and 3 whose mean scores were 92,14%, 87.68%, 84.98%, 80.47%, and 80.47% respectively. However, the mean score of students’ works in lesson plan 5: 3D Photography was 73.09% and that in lesson plan 6: Cloud Photography was 67.14% which did not pass the set criteria 80%. In addition, the problems and obstacles were some students had no application for 3D photography and the weather was not suitable for learning the cloud photography. The satisfaction of students in Art Education towards learning activities in creative photography by using flipped classroom technique found that in terms of the teacher was in high level with the mean score 4.00 and the mean scores of the atmosphere, the learning activities and the benefits were the same which was 3.90.

Downloads

Published

2017-12-30

How to Cite

อรอินทร์ ก., & เพียศิริ ด. (2017). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้การถ่ายภาพสร้างสรรค์ของนักศึกษาสาขาวิชาศิลปศึกษาโดยใช้เทคนิคห้องเรียนกลับด้าน (The Development of Learning Activities in Creative Photography for Students in Art Education by Using Flipped Classroom Technique). KKU Research Journal (Graduate Studies) Humanities and Social Sciences, 5(3), 13–24. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/gskkuhs/article/view/107864

Issue

Section

บทความวิจัย (Articles)