การพัฒนาตัวชี้วัดคุณภาพเลิร์นนิงอ๊อบเจกต์ (The Development of Quality Indicator of Learning Object)
Keywords:
ตัวชี้วัดคุณภาพ, เลิร์นนิงอ๊อบเจกต์, สนทนากลุ่ม, Quality Indicator, Learning Object, Focus GroupAbstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดคุณภาพเลิร์นนิงอ๊อบเจกต์ โดยมีการพัฒนาใน 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกรอบคุณภาพของสารสนเทศ แนวคิดคุณภาพที่นำมาใช้กับเลิร์นนิงอ็อบเจกต์และตัวชี้วัดคุณภาพที่นำมาใช้กับอีเลิร์นนิง 2) การใช้กระบวนการสนทนากลุ่มโดยผู้เชี่ยวชาญ แสดงข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และพิจารณาความถูกต้องเหมาะสม 3) ยืนยันตัวชี้วัดคุณภาพเลิร์นนิงอ๊อบเจกต์ โดยการประเมินความสอดคล้องของโมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการศึกษาสรุปได้ว่า ตัวชี้วัดคุณภาพเลิร์นนิง อ๊อบเจกต์ มี 4 มิติ 35 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย มิติคุณภาพด้านโครงสร้าง 22 ตัวชี้วัด มิติคุณภาพด้านการศึกษา 6 ตัวชี้วัด มิติคุณภาพด้านการเรียนการสอน 4 ตัวชี้วัด และมิติคุณภาพด้านเทคโนโลยี 3 ตัวชี้วัด
The purposes of this research were to development of quality indicator of learning object. The procedures are being developed by 3 steps: 1) The study document and research that related to the quality of information. The concept that are applied to learning objects and the quality indicators that are applied to e-learning. 2) To use of focus group discussion by the experts, comments, suggestions and reasonable accuracy. 3) To confirm of quality indicators of learning objects by assessing the consistency of the exploratory factor analysis models and confirmatory factor analysis. The conclusion of this study is that there are 4 dimensions and 35 indicators of learning objects quality indicators which contained to 22 indicators of dimensional quality of construction, 6 indicators of dimensional of education, 4 indicators of dimensional of teaching and 3 indicators of dimensional quality of technology.