การติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินการโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงตำบลท่านางแนว (Tracking the Progress of Project Implementation to Reduce Poverty According to the Principles of Sufficiency Economy in Tambon Tha Nang Naew)
Keywords:
การแก้ไขปัญหาความยากจน (Poverty eradication), แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency economy)Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามความก้าวหน้าโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของตำบลท่านางแนว เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม และการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยศึกษาจากผู้ที่ได้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 70 คน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหาสาระ ผลการศึกษาพบว่า โครงการแก้ไขปัญหาความยากจนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงตำบลท่านางแนว ได้มีกระบวนการโดยการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินงานด้วยวิธีการระเบิดจากข้างใน คือ ค้นหาปัญหาความต้องการและศักยภาพของชุมชนเพื่อนำไปสู่การเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา โดยเริ่มจากการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนวิธีคิดรวมกับหน่วยงานภาครัฐ เพื่อรับทราบปัญหาความต้องการ วิเคราะห์สภาพปัญหา ค้นหาวิธีการในการดำเนินการ การประชุมหาร่วมกันเพื่อแนวทางแก้ไขปัญหาความยากจน ผลจากการดำเนินงานตามโครงการ พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการมีการปรับพฤติกรรมให้สามารถลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และการรวมกลุ่มยังทำให้เกิดกิจกรรมที่หลากหลายซึ่งล้วนแต่เป็นกิจกรรมที่สร้างสรรค์ ได้แก่ กิจกรรมการลดละเลิกอบายมุขต่าง ๆ ในช่วงเข้าพรรษา การจัดตั้งกองทุนออมทรัพย์เพื่อระดมเงินออมและแบ่งบางส่วนช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในสังคม ซึ่งผลจากการดำเนินงานตามโครงการนี้ ทำให้หมู่บ้านในพื้นที่โครงการสามารถเป็นหมู่บ้านต้นแบบในเรื่องการลดรายจ่ายระดับจังหวัดได้
This research had the objective to track the progress of project implementation to reduce poverty according to the principles of sufficiency economy in Tha Nang Naew Sub district. Data were collect by interviews, focus group discussion, observation and review of related literature. A total of 70 key informants provided primary data. This study found that the project was implemented from the inside out. That is, the project managers convened public forums to exchange knowledge and methods of engaging public sector agencies to address problems. This study found that the project stimulated the increase of consumption of organic vegetables and an increase in household kitchen gardens. The supplemental income from producing and marketing organic vegetables improved household income. In addition to the organic farming, the community raises livestock for consumption and marketing. The collaboration of community members in these activities helped to support other social initiatives, such as reduction of vice, especially during Buddhist Lent. The community has created a savings fund to help disadvantaged families, and the disabled, the elderly, and others in need. Combined, these efforts help to make the Nong Ya Khao Village win the 3rd prize as a model for frugality in Khon Kaen Province.