การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง เปิดประตูสู่อาเซียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา (The Development of Integrated Learning Units on Welcome to Asean for Prathomsuksa 6 of The Demonstration School Nakh
Keywords:
หน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated Learning Units), การออกแบบหน่วยการเรียนรู้แบบย้อนกลับ (Backward design), อาเซียน (Asean)Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้หน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง เปิดประตูสู่อาเซียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยพิจารณาตามประเด็น 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการเรื่อง เปิดประตูสู่อาเซียน ก่อนและหลังเรียน และหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้หน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่องเปิดประตูสู่อาเซียน การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ มี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างหน่วยการเรียนรู้ มีองค์ประกอบ ดังนี้ 1) เป้าหมายการเรียนรู้ ประกอบด้วย ชื่อหน่วย มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด สาระสำคัญ สาระการเรียนรู้ สมรรถนะที่สำคัญ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 2) หลักฐานการเรียนรู้ ประกอบด้วย ชิ้นงานภาระงาน และการวัดและประเมินผล 3) การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วย กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้ และขั้นตอนที่ 3 การใช้หน่วยการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 21 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 12 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ ผลการวิจัย พบว่า 1) หน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง เปิดประตูสู่อาเซียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หน่วย การเรียนรู้ มีค่าดัชนีความสอดคล้องขององค์ประกอบหน่วยการเรียนรู้ อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และความเหมาะสม และความสอดคล้องของการจัดการเรียนรู้ ( = 4.85, S.D. = 0.19 หรือมากที่สุด 2) การใช้หน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง เปิดประตูสู่อาเซียน พบว่า 2.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง เปิดประตูสู่อาเซียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2.2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง เปิดประตูสู่อาเซียน หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้จากหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง เปิดประตูสู่อาเซียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับพอใจมาก ( = 4.43, S.D. = 0.68)
The research aimed to develop the integrated learning unit on Welcome To Asean For Prathomsuksa 6 of The Demonstration School NakhonratchasimaRajabhat University, 1) to compare the learning efficiency of the integrated learning unit on Welcome To Asean before and after the lesson and against the criteria of 70 percent, 2) to study the student’s satisfaction towards. The development of learning unit was 3 step 1. study for information base, 2. the building of integrated instructional learning unit was 1) goal learning was consisted learning unit name, Standard of learning and Indicators, content learning, competencies and desirable characteristics, 2) Proof of study was work piece/tasks, and evaluate and assess, 3) activity design for learning was activity learning, learning media, learning source and 3. Using integrated learning unit. The sample was 21 students in Prathomsuksa 6/1 semester at 2 year 2015 of The Demonstration School Nakhonratchasima Rajabhat University. It is taken by Cluster random sampling. The research instruments consisted of ; the lesson plans for 12 hours, achievement measurement test and satisfaction. The results of the study ware as follows; 1) the integrated learning unit on Welcome To Asean For Prathomsuksa 6 in Consistency index of integrated learning unit between 0.67-1.00 and appropriate and Consistent for learning in highest levels ( = 4.85, S.D. = 0.19). 2) Using for the integrated learning unit, 2.1) achievement for learning unit after learn higher before learn with statistical significance at .05 level, 2.2) achievement for learning unit after learning was higher than the one set by the 70 % with statistical significance at .05 level. 3) The students satisfaction was generally in a satisfactory level. ( = 4.43, S.D. = 0.68).