รูปแบบการพัฒนาวัฒนธรรมคุณภาพของโรงเรียนขนาดเล็ก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • Dawruwan Thawinkarn มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

วัฒนธรรมคุณภาพ, รูปแบบการพัฒนา, โรงเรียนขนาดเล็ก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาวัฒนธรรมคุณภาพของโรงเรียนขนาดเล็ก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการศึกษาองค์ประกอบวัฒนธรรมคุณภาพของโรงเรียนขนาดเล็ก ด้วยแบบสอบถาม กับกลุ่มตัวอย่างผู้บริหารและครูจำนวน 730 คน วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน สร้างและประเมินรูปแบบโดยการศึกษาเชิงพื้นที่ การสนทนากลุ่ม และใช้แบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า วัฒนธรรมคุณภาพของโรงเรียนขนาดเล็ก มี 5 องค์ประกอบหลัก  ได้แก่ ภาวะผู้นำด้านคุณภาพ การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง การยกย่องและการให้รางวัล  การทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วม และ การจัดการเชิงกลยุทธ์ด้านคุณภาพ โมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นตัวบ่งชี้วัฒนธรรมคุณภาพของโรงเรียนขนาดเล็กมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square =97.144, df =77,  P-Value = 0.062, RMSEA = 0.021, SRMR = 0.020, CFI = 0.996 และ TLI = 0.994) รูปแบบการพัฒนาวัฒนธรรมคุณภาพของโรงเรียนขนาดเล็กที่สร้างขึ้นคือ Q-GLEAM Model ประกอบด้วย ชื่อรูปแบบ หลักการและแนวคิดพื้นฐาน วัตถุประสงค์ ลักษณะของรูปแบบ และวิธีการพัฒนาวัฒนธรรมคุณภาพ ซึ่งมีความถูกต้อง เหมาะสม เป็นไปได้ และเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-11-20

How to Cite

Thawinkarn, D. (2018). รูปแบบการพัฒนาวัฒนธรรมคุณภาพของโรงเรียนขนาดเล็ก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(3), 114–126. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/gskkuhs/article/view/156374

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Articles)