การประเมินหลักสูตรสาขาไทยศึกษา มหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สังกัดมหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอย
คำสำคัญ:
การประเมินหลักสูตรสาขาไทยศึกษา, แนวทางพัฒนา, ประเทศเวียดนามบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินหลักสูตรสาขาไทยศึกษามหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์สังกัดมหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอย โดยใช้รูปแบบ CIPP Model ประเมินหลักสูตรทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต 2) ศึกษาแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรสาขาไทยศึกษามหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สังกัดมหาวิทยาลัยแห่งชาติฮานอยให้ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 56 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร 1 คน อาจารย์ผู้สอน จำนวน 5 คน บัณฑิต จำนวน 13 คน นักศึกษาที่กำลังศึกษาในสาขาไทยศึกษาตั้งแต่ชั้นปีการศึกษาที่ 2 - 4 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ร้อยละ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) อาจารย์ผู้สอนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตรสาขาไทยศึกษา โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( = 4.29, S.D = 0.61) 2) บัณฑิตมีความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตรสาขาไทยศึกษา โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( = 4.25, S.D = 0.41) 3) นักศึกษามีความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตรสาขาไทยศึกษา โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( = 4.36, S.D = 0.49) แนวทางในการแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรสาขาไทยศึกษา คือ สร้างโครงสร้างเวลาเรียนให้มีความยืดหยุ่น สามารถปรับแก้ตามความต้องการของผู้เรียนและการเปลี่ยนแปลงของสังคม ลดจำนวนหน่วยกิตวิชาพื้นฐานและเพิ่มจำนวนหน่วยกิตรายวิชาเอก จัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและตอบสนองความต้องการของผู้เรียน การเน้นทักษะภาษาไทย การคิดและการแก้ไขปัญหา
References
2. Wongyai W. Curriculum Development in Higher Education. Bangkok: R & B Limited; 2011. Thai.
3. Schaffartzik J, Hampson D. Strategies for Curriculum Development. California: McCutchan Publishing Corporation; 1975.
4. Phromchui S, Phibun S. Curriculum Evaluation: Techniques of Curriculum Evaluation. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat
Open University Academic; 2003. Thai.
5. TT- BGDDT. Circular promulgates regulations on evaluation criteria of program quality in University education [Internet]. 2016.
Law Library of Vietnam. Retrieved January 02, 2017, from https://goo.gl/aI3CIY
6. Wongyai W. Curriculum and Instruction: New Dimension. Bangkok: Rungrueangtham; 2008. Thai.
7. Buasi T. Curriculum Theory: Design and Development. Bangkok: Education Development Printing; 1999. Thai.
8. University of Social Sciences and Humanities, Hanoi National University. Bachelor's Degree Program in Oriental Studies; 2002.
9. Thai Language Training Program in Vietnam. Evaluation of Thai language Training Program in Vietnam; 2005.
10. Thathong N. The Development of Local Curriculum. Nakhon Pathom: Petchkasem Printing; 2007. Thai.
11. Panakun S. Curriculum evaluate. Ramkhamhaeng Publisher; 2013. Thai.
12. Phrommaphan B. “Seminar on Curriculum Evaluation”: Seminar Topics Educational Evaluation Unit 12.
Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University; 2008. Thai.
13. Sisaat B. Curriculum Research and Development. Bangkok: Suwiriyasan Publisher; 2003. Thai.
14. Sawetman C. Mathematics Curriculum Development. Bangkok: Suviriyasarn; 2002. Thai.
15. Iamchuen B. An evaluation of the Master of Science in medical sciences curriculum (Rveised 2007),
Faculty of Medicine, Thammasat University; 2012. Thai.
16. Naiyapatana O. Evaluation of the Thai as a Foreign Language (TFL) Curriculum Implemented in
the Socialist Republic of Vietnam; 2005. Thai.
17. University of Social Sciences and Humanities, Hanoi National University. Annual assessment report of
Oriental Studies; 2015.
18. Siri Thawi C. Assessing Student: The experience of revolution. Bangkok: National Education Commission;
2001. Thai.
19. University of Social Sciences and Humanities, Hanoi National University. GPA of Thai students
in academic year 2016.