เทคนิคการป้องกันความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงราคาทองคำสากล ผ่านระบบตลาดซื้อขายส่วนต่าง
คำสำคัญ:
การป้องกันความเสี่ยง, ราคาทองคำ, ตลาดซื้อขายส่วนต่างบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมในตลาดทองคำสากล ผ่านการเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนและค่าประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงที่ได้รับระหว่างพอร์ตจำลอง 3 รูปแบบคือ 1. พอร์ตลงทุนโดยไม่มีการป้องกันความเสี่ยง (Unhedged Portfolio) 2. พอร์ตลงทุนโดยใช้การป้องกันความเสี่ยงแบบถัวเฉลี่ยที่เหมาะสม (Optimal Hedge Portfolio) และ 3. พอร์ตลงทุนโดยใช้การป้องกันความเสี่ยงแบบสมบูรณ์ (Perfect Hedge Portfolio) โดยทำการเก็บข้อมูลราคาทองคำรายวันย้อนหลังนับจากวันที่ 30 มิถุนายน 2559 ถึงวันที่ 3 กรกฎาคม 2560 เป็นระยะเวลา 368 วัน เพื่อนำมาคำนวณหาสัดส่วนการป้องกันความเสี่ยง และทำการลงทุนพอร์ตจำลองทั้ง 3 รูปแบบ จากวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 ถึงวันที่ 27 กันยายน 2560 เป็นระยะเวลา 83 วัน ผลการศึกษาพบว่าพอร์ตที่ไม่มีการป้องกันความเสี่ยงนั้นมีอัตราผลตอบแทนที่มากที่สุดคือ 12.83% อันเนื่องมาจากราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นในช่วงเวลาที่ทำการศึกษา แต่หากพิจารณาที่ความสามารถในการป้องกันความเสี่ยงนั้น พอร์ตที่มีการถือครองแบบถัวเฉลี่ยที่เหมาะสมมีความสามารถในการป้องกันความเสี่ยงดีที่สุด โดยมีค่าประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงอยู่ที่ 0.9847 และมีค่าความเสี่ยงที่ลดลงอยู่ที่ 87.6439% อีกทั้งยังมีอัตราผลตอบแทนมากกว่าการถือครองโดยใช้การป้องกันความเสี่ยงแบบสมบูรณ์อีกด้วย
References
Available from: https://www.ausirisgroup.com
2. Wichuta J. Affecting factors to the gold price in the world market. Journal of DPU College Innovative Business
and Accountancy. 2014; 3(2): 227-237. Thai.
3. Sutthida P. Taming Volatile Gold by Futures [Master of Science Thesis]. Bangkok:
Thammasat University; 2011. Thai.
4. Markowitz HM. Portfolio Selection. The Journal of Finance. 1952; 7(1): 77-91.
5. Johnson LL. The Theory of Hedging and Speculation in Commodity Futures. Review of
Economic Studies. 1960; 27(3): 139-151.
6. Richard DF, Jian S. Hedging and Value at Risk. The journal of futures markets.
2009; 30(8): 780-794.
7. Gang L. The Determination of an Optimal Hedge Ratio and a Generalized Measure of Risk
[MScA Thesis]. Quebec: Concordia University; 2006.
8. Hull JC. Futures and Other Derivatives. New Jersey: Prentice-Hall; 2011.
9. Abdulnasser HJ, Eduardo R. Calculating the Optimal Hedge Ratio: Constant, Time Varying.
Economics Letters. 2006; 13(5): 293-299.
10. Mihai CD, Daniel A. The Optimal Hedging Ratio for Non-Ferrous Metals. Romanian Journal of Economic
Forecasting. 2014; 17(1): 105-122.
11. Chotima T. Risk management by forward contract covering: case study: Ajinomoto Betagro Frozen Food (Thailand).
[Master of Science Thesis]. Bangkok: Dhurakij Pundit University; 2007. Thai.
12. Bhisalaxana N. Ex ante hedging effectiveness of SET50 index futures: evidence from Thailand
[Master of Science Thesis]. Bangkok: Thammasat University; 2011. Thai.