ผลของกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน วิชาฟิสิกส์ ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเมืองคง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • Nut Naochang สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • Tweesak Chindanurak สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • Chamnan Chaowakeratipong สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, ความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์, ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนที่จะมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน กับหลังจากที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน และ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนที่จะมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน กับหลังจากที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือในการวิจัย ประกอบไปด้วย 1) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ และ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์หลังจากที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ที่สูงกว่าก่อนที่จะมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังจากที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ที่สูงกว่าก่อนที่จะมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

1. Sriruk PH. Student-centered learning management [Internet]
2011 [updated 2011 May 9; cited 2019 Jan 14]. Available from:
https://www.slideshare.net/teacherkobwit/ss-7892016

2. Ministry of Education. The basic education core curriculum
A.D.2008. 1st ed. Bangkok: The Agricultural Co-operative Federation
of Thailand; 2008. 209 p.

3. Jareeyarut Ch. The effects of the 7E Inquiry Learning activities
management emphasizing on cooperative learning on learning
achievement and science problem solving Ability of mathayom
Suksa II students at Nong Yang Pittayakhom School in
Nakhon Ratchasima Province [MEd thesis]. Nonthaburi:
Sukhothai Thammathirat Open University; 2013. Thai.

4. Jutarat Th. Learning achievement in physics and critical
thinking ability of students taught through inquiry approach
combined with concept mapping. [MEd thesis]. Songkla:
Prince of Songkla University; 2006. Thai.

5. Titiya D. The effects of using a science activities package
on science process skills and science problem solving ability
of Mathayom Suksa I Students at Satri Phatthalung School in
Phatthalung Province [MEd thesis]. Nonthaburi:
Sukhothai Thammathirat Open University; 2012. Thai.

6. Nongnart W. The effects of using the 7Es learning management
approach emphasizing critical thinking activities in the topic of
homeostasis on learning achievement and critical thinking ability
of Mathayom Suksa IV Students at Piriyalai Changwat Phare School
in Phare Province [MEd thesis]. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat
Open University; 2011. Thai.

7. Christopher A G. A Comparision of learner self-regulation in online
and face-to-face Problem-based learning courses [PhD thesis].
Memphis, Tennessee: The University of Memphis; 2014.

8. Suwanna W. A comparison of academic achievement and
the thinking ability required to solve problems on the protection
of the rights of consumer by mathayom sueksa five student
studying in the social studies, religion and culture learning strand
using the method of Problem-based Learning Management and
the method of Six Thinking Hats [MEd Thesis]. Bangkok:
Ramkhamhaeng University; 2010. Thai.

9. Hilary A P. The effects of Problem-based learning on the math
anxiety, self-efficacy and math achievement of elementary student
[PhD thesis]. Gainesville, Georgia: Brenau University; 2017.

10. Amulya A. T-test using Python and Numpy [Internet] 2017
[updated 2017 Aug 30; cited 2018 Dec 20]. Available from:
https://towardsdatascience.com/inferential-statistics-series-t-
test-using-numpy-2718f8f9bf2f

11. Ponlakrit K. The results of problem - based learning (PBL) in
the science learning area on the topic of force and motion to
develop science process skills and science problem solving abilities
of Prathom Suksa V Students at Tessaban Ban Khuha Sawan School
in Phatthalung Province [MEd thesis]. Nonthaburi: Sukhothai
Thammathirat Open University; 2012. Thai.

12. Jiraporn M. Use of Problem-based learning to promote
the english writing skill and critical thinking of Mathayom
Suksa 4 Students [MEd thesis]. Chiang Mai: Chiang Mai University;
2012. Thai.

13. Nancy K L. How professors infuse critical thinking into
college courses [PhD thesis]. South Orange, New Jersey:
Seton Hall University; 2014.

14. Prapit P. A comparison of effects of the learning by Inquiry
Method Emphasizing Cooperative Learning and Traditional Teaching
Method on science learning achievement and critical thinking ability
of Mathayom Suksa I Student Pa Phayom Network Schools under the
Office of Phatthalung Education Service Area 1 [Med Thesis].
Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University; 2009. Thai.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-26

How to Cite

Naochang, N. ., Chindanurak, T. ., & Chaowakeratipong, C. . (2020). ผลของกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน วิชาฟิสิกส์ ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเมืองคง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(1), 41–51. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/gskkuhs/article/view/241433

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Articles)