การศึกษาทักษะการคิดแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการคิดแก้ปัญหา (SSCS)

ผู้แต่ง

  • Tipruthai Krisriwattana สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • Angkana Tungkasamit สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ทักษะการคิดแก้ปัญหา, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)  เพื่อศึกษาทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการคิดแก้ปัญหา  (SSCS)  ให้นักเรียนมีทักษะการคิดแก้ปัญหาผ่านเกณฑ์ร้อยละ  75  และมีนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 ขึ้นไป 2)  เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการคิดแก้ปัญหา (SSCS) ให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 และมีนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 ขึ้นไป  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการคิดแก้ปัญหา (SSCS) จำนวน 8 แผน 2) แบบวัดทักษะการคิดแก้ปัญหา และ 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ผลวิจัยพบว่า 1) ทักษะการคิดแก้ปัญหาคิดเป็นคะแนนเฉลี่ย  ()  เท่ากับ  17.56  คะแนน  จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน  มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.97 คิดเป็นร้อยละ  87.84  และมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 91.89  2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน พบว่า การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการคิดแก้ปัญหา  (SSCS)  นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย ()  เท่ากับ  24.11 คะแนน จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน  มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.26  คิดเป็นร้อยละ  80.36  และมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 78.38

References

1. Ministy of Education. The Basic Education Core Curriculum
B.E. 2551 (A.D. 2008). Bangkok. Agricultural cooperative printing
demonstrations of Thai; 2008. Thai.

2. Phabsimma T. The Development of Learning Activities Focusing
on Mathematical Problem Solving Skill/Process on Fractions in
Mathayomsuksa I. [MMath Thesis]. Khon Kaen University; 2006. Thai.

3. Pizzini, L., Shepardson, P., & Abell, K. (1989). A rationale for and
the development of a problem solving model of instruction in Science
Education, Science Education, (75), 523-534.

4. Moonkhum S. Creative teaching strategies. Bangkok;
Parbpim; 2004. Thai.

5. Wonggert J. Learning management using SSCS model.
Available from: http://c4ed.lib.kmutt.ac.th/x-classroom/ ?p=879

6. Sirirungrueang, S. Effects of Learning Activities by Using SSCS
Model on Ability in Learning Mathematics on “Application of Linear
Equations with One Variable”of Mathayomsuksa Two Students at
Benchamatheputhit Changwat Phetchaburi School. Master of Education
Thesis in Teaching Mathematics, Kasetsart University; 2011. Thai.

7. Rukdaun U. Effects of Teaching by Applying SSCS Model on Learning
Achievement and Efficiency in Solving Problems of Prathom Suksa V Students.
[Mater of Education Thesis]. Khon Kaen University; 1999. Thai.

8. Damsuwarn W. The relationship between scientific creativity and
an ability in problem solving of prathom suksa six students. Master of
Education Department of Elementary Education Graduate School,
Chulalongkorn University; 1986. Thai.

9. Somsa, I. Effects of Teaching by Using SSCS on Problem Solving
Ability and Attitudes Toward Mathematics of Prathomsuksa Four
Students. Master of Education Thesis in Curriculum and Instruction,
Pibulsongkram Rajabhat University; 2006. Thai.

10. Sumano, S. The Study of Mathematics Ability in Solving Word
Problems on “Percent” of Prathomsuksa Six Students by Using SSCS
Model at Watnongkhaem (Saharatburana) School, Bangkok. Master of
Education Thesis in Teaching Mathematics, Kasetsart University; 2011. Thai.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-30

How to Cite

Krisriwattana, T. ., & Tungkasamit, A. . (2020). การศึกษาทักษะการคิดแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการคิดแก้ปัญหา (SSCS). วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(2), 13–21. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/gskkuhs/article/view/245308

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Articles)