การปรับตัวทางวัฒนธรรมของผู้ใช้แรงงานไทยย้ายถิ่น : การวิจัยเชิงคุณภาพ(Cultural Adjustment of Thai Migrant Workers: A Qualitative Study)

Authors

  • พรวิภา เหาตะวานิช (Pornvipa Hautavanija) Chulalongkorn University
  • ดร.อรัญญา ตุ้ยคำภีร์ (Dr.Arunya Tuicomepee) Chulalongkorn University

Keywords:

Cultural adjustment(การปรับตัวทางวัฒนธรรม), Thai migrant worker(แรงงานไทยย้ายถิ่น)

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ในการศึกษาประสบการณ์การปรับตัวทางวัฒนธรรมของผู้ใช้แรงงานไทย ย้ายถิ่น เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลที่เคยเดินทางไปทำงานต่างประเทศเป็นเพศชายทั้งหมด 9 ราย โดยคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด วิเคราะห์ข้อมูลตามระเบียบวิธีวิจัย เชิงคุณภาพแบบทีมผู้วิจัยเห็นชอบร่วมกัน ผลการศึกษาพบประเด็นหลักทั้งหมด 7 ประเด็น ได้แก่ 1) แรง จูงใจหลักในการไปทำงานต่างประเทศ ที่มีความคาดหวังถึงรายได้ที่ดีกว่า 2) ภาวะใจเมื่อต้องย้ายถิ่น ที่มีความ รู้สึกกังวลถึงครอบครัวและความเป็นอยู่ในต่างประเทศ 3) การประสบกับความแตกต่างทางวัฒนธรรมและ สิ่งแวดล้อมเมื่อเดินทางถึงประเทศปลายทาง 4) สิ่งรบกวนใจในสภาพแวดล้อมใหม่ ได้แก่ ความคิดถึงบ้าน ความทุกข์ใจ และความเหน็ดเหนื่อยท้อแท้ 5) การปรับตัวเมื่ออยู่ในวัฒนธรรมใหม่ ด้วยการปรับเจตคติความคิด และจัดการกับสิ่งรบกวนใจ 6) สิ่งเกื้อหนุนในการดำเนินชีวิตในต่างประเทศ ได้แก่ การรวมกลุ่มคนไทยในต่างประเทศ 7) รางวัลจากแรงกายในต่างแดน ที่ทำให้ครอบครัวมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ผลการวิจัยนี้ทำให้เข้าใจประสบการณ์ การปรับตัวทางวัฒนธรรมของผู้ใช้แรงงานย้ายถิ่น และเป็นแนวทางในการช่วยเหลือผู้ใช้แรงงานย้ายถิ่นที่ไป ทำงานต่างประเทศต่อไป

This study aimed to examine cultural adjustment of Thai migrant workers. Participants were 9 males who were selected based on these criteria. Data were collected through in-depth interviews and analyzed using a consensual qualitative research method. Data analysis yielded 7 domains: 1) an increase in the income as the main incentive forworker’smigration 2) concerns about family and adjustment to living in a foreign country 3) experiences of cultural and environmental differences 4) emotional distress in the new environment (e.g., homesickness, emotional suffering and fatigue) 5) adjustment to the new environment by changing own attitudes and managing emotional disturbance 6) resources for living abroad especially networking with Thais 7) the sense of fulfillment upon returning home. The findings of this study might lead to better understanding of cultural adjustment of Thai migrant workers and can be implemented as a guideline to promote migrant workers well-being.

Downloads

Published

2015-02-06

How to Cite

(Pornvipa Hautavanija) พ. เ., & (Dr.Arunya Tuicomepee) ด. ต. (2015). การปรับตัวทางวัฒนธรรมของผู้ใช้แรงงานไทยย้ายถิ่น : การวิจัยเชิงคุณภาพ(Cultural Adjustment of Thai Migrant Workers: A Qualitative Study). KKU Research Journal (Graduate Studies) Humanities and Social Sciences, 1(1), 14–27. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/gskkuhs/article/view/30403

Issue

Section

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์