ประสบการณ์ด้านจิตใจของนักศึกษาที่ยากจนจากชนบท และได้รับทุนการศึกษา(Psychological Experience of Scholarship Awarded University Students with Poverty from Rural Areas)

Authors

  • จริยา ศรีวิจารย์ (Jariya Sriwijan) Chulalongkorn University
  • ดร.อรัญญา ตุ้ยคำภีร์ (Dr.Arunya Tuicomepee) Chulalongkorn University
  • ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ (Dr.Nattasuda Taepan) Chulalongkorn University

Keywords:

Poverty(ความยากจน), Scholarship(ทุนการศึกษา), Student from rural area(นักศึกษาจากชนบท)

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ด้านจิตใจของนักศึกษาที่ยากจนจากชนบทและ ได้รับทุนการศึกษา ผู้ให้ข้อมูลเป็นนักศึกษาปริญญาตรี จำนวน 10 ราย คัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์รายบุคคล วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแบบทีมผู้วิจัยเห็นชอบร่วมกัน ผลการศึกษาพบ 5 ประเด็นหลัก คือ (1) การเผชิญความยากลำบากในชีวิต ได้แก่ ความเป็นอยู่ที่ขาดแคลน การไม่ยอมจำนนต่อความยากจน การมีความกดดันและรู้สึกด้อยค่าจากความยากจน (2) การมีความรู้สึกสุข ระคนทุกข์เมื่อได้ทุนการศึกษา ได้แก่ ความรู้สึกภาคภูมิใจร่วมกับความรู้สึกซาบซึ้งใจที่ได้รับทุน และความรู้สึก ไม่มั่นใจบางขณะ (3) การปรับตัวในสังคมใหม่ ได้แก่ การใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย การดำรงอยู่ภายใต้สิ่ง แวดล้อมวัตถุนิยม และการใช้ชีวิตต่างถิ่นเพียงลำพัง (4) การมีพื้นนิสัยที่ดีและกุญแจสำคัญในการปรับตัว ได้แก่ การมีจิตใจที่แข็งแกร่ง การมีสัมพันธภาพและการมีแหล่งเกื้อหนุนที่ดี และ (5) การมีจุดมุ่งหมายในชีวิต ได้แก่ การทำสิ่งต่างๆเพื่อครอบครัว เพื่อความมั่นคงของตัวเอง และเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น จะเห็นว่าปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ ในการที่ทำให้นักศึกษาต่อสู้กับความลำบากในชีวิตจากความยากจนคือพื้นนิสัยด้านบวกและการมีจุดมุ่งหมาย ในชีวิตของพวกเขา

This study aimed to investigate psychological experience of scholarship awarded undergraduate students. Key informants were 10 undergraduate students. They were purposively selected based on the set criteria. Data were collected by the researcher through an in-depth interview and then analyzed using a consensus qualitative research method. Data analysis reveals five themes: (1) experiencing the adversities of living (i.e., surviving limited resources, not surrendering to poverty, and feeling the pressure and the sense of inferiority from poverty), (2) ambivalence in receiving the scholarship (i.e., feeling the sense of pride and appreciation for the scholarship award while experiencing a sense of insecurity),(3) adaptation to the new environment (i.e., on-campus living, being surrounded by materialistic social environment, and living alone in the new environment), (4) character strengths and other protective factors (i.e., being determined, close relationships, and fostering supportive resources), and (5) maintaining a sense of purpose in life (i.e., striving for enhancing family well-being, creating own secure future, contributing to others). In sum, their character strengths together with purpose in life plays a vital role in assisting the students to get through challenges brought about by their poverty

Downloads

Published

2015-02-06

How to Cite

(Jariya Sriwijan) จ. ศ., (Dr.Arunya Tuicomepee) ด. ต., & (Dr.Nattasuda Taepan) ด. เ. (2015). ประสบการณ์ด้านจิตใจของนักศึกษาที่ยากจนจากชนบท และได้รับทุนการศึกษา(Psychological Experience of Scholarship Awarded University Students with Poverty from Rural Areas). KKU Research Journal (Graduate Studies) Humanities and Social Sciences, 1(1), 28–40. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/gskkuhs/article/view/30405

Issue

Section

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์