การศึกษามโนมติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง สารและการจำแนก(The Study of Grade 7 Students’ Conceptions about Substances and Their Categorization)

Authors

  • นิกร สีกวนชา (Nikorn Seekuancha) Khon Kaen University
  • ดร.ปัฐมาภรณ์ พิมพ์ทอง (Dr.Pattamaporn Pimthong) Kasetsart University

Keywords:

Alternative concept(มโนมติที่คลาดเคลื่อน), Scientific concept(มโนมติทางวิทยาศาสตร์สาร), Substances

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามโนมติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 เรื่อง สารและการจำแนก กลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนประถมศึกษา ขนาดเล็กแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดมโนมติ เรื่อง สารและการจำแนก จำนวน 7 ข้อแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง เก็บรวมรวมข้อมูลโดยการวัด มโนมติและ การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ข้อมูลที่ได้จะนำมาวิเคราะห์และจัดกลุ่มคำตอบตามแนวทางของ Andersson[1] ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีมโนมติที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับความหมายของสสารว่าความร้อน และเสียงเป็นสสาร ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเราคือสสารและแก๊สออกซิเจน มนุษย์และเลือดไม่เป็นสสาร 2) นักเรียนมีมโนมติที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสารว่าเกลือหายไปเมื่อถูกเทใส่ลงในน้ำ น้ำอัดลมแข็งตัว ลูกเหม็นมีขนาดเล็กลง และระดับน้ำในแก้วลดลงเป็น การเปลี่ยนแปลงทางเคมี 3) นักเรียน มีมโนมติที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการจำแนกสารโดยใช้สถานะเป็นเกณฑ์ว่าใช้ราคาเป็นเกณฑ์ ใช้เนื้อสารเป็น เกณฑ์ ใช้ความอันตรายของสารเป็นเกณฑ์ 4) นักเรียนมีมโนมติที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการจำแนกสารโดยใช้ เนื้อสารเป็นเกณฑ์ว่าน้ำแป้งดิบ น้ำพริก เป็นสารเนื้อเดียว ส่วนเหรียญบาท แก๊สออกซิเจนและน้ำอัดลม เป็นสารเนื้อผสม 5) นักเรียนมีมโนมติที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับสารละลาย คอลลอยด์และสารแขวนลอย ว่าน้ำนม น้ำอบไทย น้ำแป้งดิบและน้ำส้มปั่นเป็นสารละลาย แต่นักเรียนส่วนใหญ่ไม่สามารถอธิบายสาร ที่เป็นคอลลอยด์ได้ 6) นักเรียนมีมโนมติที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการเปลี่ยนสถานะของสารว่าเมื่อน้ำเดือด อนุภาคของน้ำจะแยกออกจากกันเป็นแก๊สออกซิเจนและแก๊สไฮโดรเจน มีเฉพาะแก๊สออกซิเจน หรือมีทั้งน้ำและแก๊ส และ 7) นักเรียนมีมโนมติที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับแบบจำลองอนุภาคของสารว่าเมื่อสารเปลี่ยน สถานะไปเป็นแก๊ส อนุภาคของแก๊สจะถูกดันไปข้างภาชนะ อนุภาคของแก๊สจะเบาและลอยตัวสูง อนุภาค ของแก๊สจะใหญ่ขึ้นและมีจำนวนอนุภาคเพิ่มขึ้น

The purpose of this survey research was to study Grade 7 students’ conceptions about substances and their categorization. The participants were 10 students from a small primary school in KhonKaen province. The research instruments were 7 items of concept survey about substances and their categorization and semi- structured interview form. The data were collected and analyzed using Andersson’s criterion [1] The results were 1) students had alternative conceptions about definition of matter. They explained that heat and sound were matter, everything around them was matter, oxygen gas, human and blood was not matter. 2) Students had alternative conceptions about changes of substances. They explained that salt disappeared in water; soft drink freezing, mothball sublimating and water disappearing were chemical changes. 3) Students had alternative conceptions about classification of substancesaccording to their state. The students explained that substances can be classified by their price, theircomposition, their hazard. 4) Students had alternative conceptions about classification of substances according to their composition. The students explained that native starch solution and chili was homogenous substance. Moreover, they thought coin, oxygen and soft drink was heterogeneous substance. 5) Students had alternative conceptions about solution, colloid and suspension. The students explained that milk, Thai perfume, native starch solution and orange juice was solution. However, most students cannot explain their understanding about colloid. 6) Students had alternative conceptions about change in state of substance. The students explained that oxygen particles and hydrogen particles were separated when water boiled. And 7) Students had alternative conceptions about particle model during changing state. The students explained that gas particles were push in a container, were light and float, were increased their size and number when changing state.

Downloads

Published

2015-02-06

How to Cite

(Nikorn Seekuancha) น. ส., & (Dr.Pattamaporn Pimthong) ด. พ. (2015). การศึกษามโนมติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง สารและการจำแนก(The Study of Grade 7 Students’ Conceptions about Substances and Their Categorization). KKU Research Journal (Graduate Studies) Humanities and Social Sciences, 1(3), 1–9. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/gskkuhs/article/view/30430

Issue

Section

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์