การเพิ่มประสิทธิภาพกลไกการจัดการหนี้ของเกษตรกร(Improving System for Farmer’s Debt Management)
Keywords:
Potential system(ประสิทธิภาพกลไก), Farmer’s debt management(การจัดการหนี้ของเกษตรกร), Farmer rehabilitation and development(การฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร)Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ ศักยภาพ และแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพกลไก การจัดการหนี้ของเกษตรกร เป็นกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพโดยพัฒนาประเด็นการวิจัยจากงานประจำ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่มย่อย การสัมภาษณ์เชิงลึก การค้นคว้างานวิจัยและรายงานผลการ ดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ เกษตรกรที่มีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ จำนวน 45 ราย เกษตรกรและองค์กรเกษตรกรในจังหวัดกาฬสินธุ์ ที่ได้รับการจัดการหนี้และการสนับสนุนการฟื้นฟู และพัฒนาอาชีพโดยกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และการศึกษาค้นคว้าผลการดำเนินงานของหน่วยงาน ด้านการจัดการหนี้ ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรมีขนาดหนี้หลายทางและจำนวนมากกว่ารายได้ภาคการเกษตร หน่วยงานจัดการหนี้สามารถชำระหนี้แทนก่อนได้เฉพาะกรณีที่เกษตรกรมีหนี้เร่งด่วน และต้องมีการฟื้นฟู และพัฒนาอาชีพที่เหมาะสมเพื่อแก้ปัญหาหนี้ได้อย่างยั่งยืน
The objective of this research was to study the status of farmer’s debt, farmer capacity and to improve system of farmer’s debt management. The study process was developed from routine work as a qualitative research. Data was collected through focus group discussion, in-depth interview, desk study and implementation report of related farmer debt management agencies (FDMA). The key informants were 45 small scale farmer who have the non performance loan (NPL), individual farmer and farmer organization in Kalasin Province which were managed their debt by the farmer debt management agencies and join with rehabilitation and development process as well. The results of the study indicated that each farmer has high dept amount and a lot of creditor. The FDMA can manage only NPL situation and need seriously rehabilitation and development process to sustainable debt management.