หลักสูตรสี่มิติ (Four-Dimensional Curriculum)

Authors

  • ดร.ธีรชัย เนตรถนอมศักดิ์ (Dr.Teerachai Nethanomsak) Khon Kaen University

Keywords:

-

Abstract

 คนส่วนใหญ่มักมีความเชื่อยึดติดว่า “เวลา” เป็นสิ่งที่ไม่หยุดนิ่งแต่ก็สามารถวัดเวลาได้ กำหนดเวลา ได้แน่นอน หรืออาจจะเรียกได้ว่า เวลาเป็นสิ่งที่มีตัวตน สัมผัสจับต้องได้เลยทีเดียว เวลากับวัตถุหรือสิ่งต่าง ๆ ดูเหมือนจะเป็นคนละส่วนกัน แยกออกจากกันอย่างชัดเจน เช่น นักกรีฑาวิ่ง 100 เมตร ได้ด้วยเวลา 100 เมตร ภายใน 10 วินาที ซึ่งในที่นี้เวลา ถูกมองว่าแยกส่วนออกจากตัวนักวิ่ง รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่วิ่งในขณะนั้น อย่างสิ้นเชิง ซึ่งจริง ๆ แล้ว เป็นเรื่องที่น่าขบคิดเป็นอย่างยิ่งว่า จริง ๆ แล้ว เวลา นักวิ่ง และสภาพแวดล้อมในขณะนั้น เป็นความสัมพันธ์ที่อยู่กันคนละส่วนอย่างแท้จริงหรือไม่ ส่วนหนึ่งในหนังสือ Curriculum Development in the Postmodern Era โดย Slattery [1] ซึ่งได้พยายามเสนอแนวคิดในยุคหลังสมัยใหม่ (Postmodern) ที่มอง เกี่ยวกับ “เวลา” ในกระบวนทัศน์ที่แตกต่างไปจากเดิม และนำมาเชื่อมโยงมาสู่แนวคิดใหม่ในการพัฒนาหลักสูตร การศึกษา ข้าพเจ้าในฐานะที่อยู่ในแวดวงด้านการพัฒนาหลักสูตรและการสอน เห็นว่าเป็นแนวคิดที่มีแนวโน้ม สูงเป็นอย่างยิ่งต่อการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของการพัฒนาหลักสูตรอยู่มากในโลกยุคปัจจุบัน โดยข้อเขียน บางส่วน ผู้เขียนพยายามเชื่อมโยงให้เห็นถึงแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ยุคสมัยใหม่ (Modern) และการค้นพบ ความรู้ใหม่ทางวิทยาศาสตร์ในยุคต่อมาที่มีผลต่อการมองสรรพสิ่งในจักรวาลที่แตกต่างไปเดิม หักล้างความเชื่อ ทางวิทยาศาสตร์ในยุคที่ผ่านมาอย่างสิ้นเชิง และได้ส่งผลต่อมุมมองถึงความเป็นไปของโลกในสาขาต่างๆ หรือ เรียกได้ว่า มีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์จากยุคสมัยใหม่ (Modern) สู่ยุคหลังสมัยใหม่ (Postmodern) ผู้เขียนได้นำเสนอแนวคิดในเชิงอุปมาเพื่อสะท้อนเห็นถึงแนวคิดต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์ในยุคหลังสมัยใหม่ มาสู่การจัดการศึกษา และการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาได้อย่างแยบยล ในขณะเดียวกันก็วิพากษ์ให้เห็นถึง กระบวนทัศน์เดิมๆ ในการพัฒนาหลักสูตร ว่าได้ทำให้เกิดผลกระทบกับสังคมปัจจุบันอย่างไร ทางออกในเรื่องของ “เวลา” กับการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาด้วยมุมมองของกระบวนทัศน์ ในยุคหลังสมัยใหม่ ค่อนข้างมีความชัดเจนในงานเขียนชิ้นนี้ แต่เป็นความชัดเจนที่ผู้อ่านต้องสานต่อความ คิดของผู้เขียน เป็นความชัดเจนที่ไม่ได้มีสูตรสำเร็จให้หยิบยกไปประยุกต์ใช้หรือเด็ดยอดเพื่อบริโภคได้ทันที มันเป็นความชัดเจนทางความคิดที่ผู้เขียนได้พยายามถ่ายทอดมาสู่ผู้อ่านได้อย่างน่าสนใจ และข้าพเจ้าคิดว่า จะเป็นแนวคิดสำคัญต่อมุมมองของนักพัฒนาหลักสูตรที่ต่อจากนี้ไปจะต้องได้ยิน ได้ฟัง ได้รู้ และเห็นถึง แนวคิด รวมถึงปรากฏการณ์ที่สะท้อนถึงเรื่องราวที่จะได้นำเสนอต่อจากนี้ไปบ่อยมากขึ้น การพัฒนาหลักสูตร ที่ไม่ใช่เพียงแค่สัมผัสจับต้องได้เหมือนตัวแบบสามมิติ แต่ต้องพิจารณามิติที่สี่ควบรวมไปด้วย แล้วมิติที่สี่ เป็นอย่างไร ใคร่พิจารณาหาคำตอบจากนี้ไป 

Downloads

Published

2015-02-16

How to Cite

(Dr.Teerachai Nethanomsak) ด. เ. (2015). หลักสูตรสี่มิติ (Four-Dimensional Curriculum). KKU Research Journal (Graduate Studies) Humanities and Social Sciences, 2(3), 1–13. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/gskkuhs/article/view/31038

Issue

Section

บทความทางวิชาการ