การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ว่ายน้ำโดยใช้รูปแบบการสอนพลศึกษา 5 ขั้นและรูปแบบการสอนสมองเป็นฐานที่มีผลต่อทักษะการสร้าง ความคุ้นเคยกับน้ำ ท่าปลาดาว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

Authors

  • อนุกูล นิยมถิ่น (Anukul Niyomthin) Khon Kaen University
  • ดร.โรจพล บูรณรักษ์ (Dr.Rojapon Buranarugsa) Khon Kaen University

Keywords:

Skill to become familiar with water(ทักษะการสร้างความคุ้นเคยกับน้ำ), Starfish float(ท่าปลาดาว)

Abstract

 การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ว่ายน้ำโดยใช้ รูปแบบการสอนพลศึกษา 5 ขั้น และรูปแบบการสอนสมองเป็นฐานที่มีผลต่อทักษะการสร้างความคุ้นเคยกับน้ำ ท่าปลาดาว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 2 โรงเรียนสนามบิน จากจำนวน 7 ห้องเรียน 75 คน ทำการทดลองทั้งหมดเพื่อหาห้องเรียนที่มีคะแนนใกล้ เคียงกัน กลุ่มทดลองกลุ่มที่ 1 โดยใช้รูปแบบการสอนพลศึกษา 5 ขั้น ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 37 คน และกลุ่มทดลองกลุ่มที่ 2 โดยใช้รูปแบบการสอนสมองเป็นฐาน ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 2 จำนวน 38 คน โดยวิธี การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการสร้างความคุ้นเคยกับน้ำ ท่าปลาดาว โดยใช้รูปแบบการ สอนพลศึกษา 5 ขั้น แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการสร้างความคุ้นเคยกับน้ำ ท่าปลาดาว โดยใช้รูปแบบ การสอนสมองเป็นฐานและแบบทดสอบทักษะการสร้างความคุ้นเคยกับน้ำ ท่าปลาดาว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่า t-test (Dependent) พบว่า การจัดกิจกรรมการเรียน รู้เรื่องการสร้างความคุ้นเคยกับน้ำ ท่าปลาดาว โดยใช้รูปแบบการสอนพลศึกษา 5 ขั้น ส่งผลต่อทักษะการสร้าง ความคุ้นเคยกับน้ำ ท่าปลาดาว ก่อนเรียนและหลังเรียน แตกต่างกันอย่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องการสร้างความคุ้นเคยกับน้ำ ท่าปลาดาว โดยใช้รูปแบบการสอนสมองเป็นฐาน ส่ง ผลต่อทักษะการสร้างความคุ้นเคยกับน้ำ ท่าปลาดาว ก่อนเรียนและหลังเรียน แตกต่างกันอย่างอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ ระดับ .05 รูปแบบการสอนแบบพลศึกษา 5 ขั้นและรูปแบบการสอนแบบสมองเป็นฐานสามารถช่วย พัฒนาทักษะการสร้างความคุ้นเคยกับน้ำได้ในกลุ่มนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กิจกรรมว่ายน้ำ เป็นกิจกรรมที่ เด็กเรียนแล้วเกิดความสนุกสนาน จึงทำให้เด็กพร้อมที่จะเรี ยนรู้ทักษะการสร้างความคุ้นเคยกับน้ำ เช่น การตักน้ำราดหัว การเดินในน้ำ การเป่าน้ำ การกั้นหายในน้ำการทำแมงกะพรุน การทำปลาดาว ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้เด็ก มีความพร้อมที่จะเรียนว่ายน้ำและทำให้เด็กมีทักษะปลาดาว เพิ่มขึ้น 

Aim of this study was to examine the effects of pool learning activities on the skill to become familiar with water (Starfish Float) using a five-step teaching Physical Education and brain-based learning methods in second grade students. Subjects in this study were seventy-five grade 2 students from seven classrooms of Sanambin School, Khon Kaen, Thailand. Prior to the study, all subjects were measured for skill to become familiar with the water and they were further divided into two groups: learning activities using a five-stage model of teaching group (n = 37), and brain-based learning activities model of teaching group (n = 38). Subjects in both groups participated in given classes activities for ten weeks, each class session lasted for sixty minutes. Subject’s skill to become familiar with water was measured again after poor learning activities programs. Both two groups showed a significant improvement in skill to become familiar with water (Starfish Float) after study (P<0.05). Changes observed in group 1 was 60.48% and 56.85% for group 2. Learning activities using a five-stage and brain-based teaching models were highly effective on skill to become familiar with water development in second grade students when combined with regular poor learning activities. Both two learning activities used in this study are useful for children in order to develop basic skill becoming familiar with water and also for kid’s preparation of learning higher-level swimming ability. 

Downloads

Published

2015-02-16

How to Cite

(Anukul Niyomthin) อ. น., & (Dr.Rojapon Buranarugsa) ด. บ. (2015). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ว่ายน้ำโดยใช้รูปแบบการสอนพลศึกษา 5 ขั้นและรูปแบบการสอนสมองเป็นฐานที่มีผลต่อทักษะการสร้าง ความคุ้นเคยกับน้ำ ท่าปลาดาว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. KKU Research Journal (Graduate Studies) Humanities and Social Sciences, 2(3), 23–32. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/gskkuhs/article/view/31041

Issue

Section

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์