แนวทางการจัดการค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยเพดานโหว่ ที่ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติของศูนย์ตะวันฉาย โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Keywords:
Management guidelineCleft palate(แนวทางการจัดการต้นทุนผู้ป่วยภาวะเพดานโหว่), Universal Health Coverage Program(สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยเพดานโหว่ ที่ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติของศูนย์ตะวันฉาย โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยได้ทำการ รวบรวมข้อมูลย้อนหลัง จากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ แล้ววิเคราะห์เปรียบเทียบค่ารักษาพยาบาลกับรายได้ ที่ได้รับจากสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาต่อเนื่องในระยะ 5 ปี (ระหว่าง 1 ตุลาคม 2551 ถึง 30 กันยายน 2556) ซึ่งมีผู้ป่วยทั้งสิ้น 21 ราย ผลการศึกษาพบว่า ค่ารักษา พยาบาลรวมเฉลี่ยเท่ากับ 32,750.42 บาท ต่อผู้ป่วยหนึ่งราย ข้อมูลเปรียบเทียบ 9 ราย ค่ารักษาพยาบาล รวมเฉลี่ยของเท่ากับ 16,740.11 บาท แต่เงินชดเชยที่ได้รับจาก สปสช. มีค่าเฉลี่ย 15,092.02 บาท ต่อผู้ป่วยหนึ่งราย (ร้อยละ 90.15 ของค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บ) ซึ่งได้เสนอแนวทางการจัดการค่ารักษาพยาบาล ดังนี้ 1) การบริหารจัดการการปฏิบัติที่ดี (การกำหนดต้นทุนมาตรฐานแต่ละขั้นตอน การกำหนดขั้นตอน การทำงาน การลดกิจกรรมที่ไม่ได้วางแผน การใช้เทคโนโลยีช่วยในการทำงาน) และ 2) การจัดทำแนวการ ปฏิบัติมาตรฐานในการใช้วัสดุ ยาและเวชภัณฑ์ เพื่อนำไปสู่การเพิ่มผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพและลดต้นทุน
The purpose of this study was to perform cost management of cleft palate patients with the universal health coverage program (UHCP) of Tawanchai Center, Srinakarind Hospital, Faculty of Medicine KhonKaen University, for the fiscal year of 2008-2013. Retrospective studies were obtained from secondary data. The analyzed cost was compared with the received compensation from the National Health Security Office (NHSO). The resultsrevealed that total cost of Tawanchai cleft center was 32,750.42 Baht per patient However the charge cost of a palate was 16,740.11 Baht but universal health coverage program (UHCP) support 15,092.02 Baht only90.15%. Approaching to cost management were proposed as 1) Have Best Practice 2) Set standard cost per procedure. After these implementation, lower incidence rate of complications can be expected then the unit cost could be reduced accordingly.