เศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของครัวเรือนผู้หญิงที่สมรสข้ามวัฒนธรรมในชนบทอีสาน (Economic and Wellbeing of the Cross - cultural Marriage Women in Rural Isan)

Authors

  • ทิพย์สุดา ปรีดาพันธุ์ (Thipsuda Preedaphan)
  • ดร.ดุษฎี อายุวัฒน์ (Dr.Dusadee Ayuwat)
  • ดร.ศิริรัตน์ แอดสกุล (Dr.Sirirat Adsakul)

Keywords:

การสมรสข้ามวัฒนธรรม (Cross cultural marriage), เศรษฐกิจครัวเรือน (Households economy), ความเป็นอยู่ (Wellbeing)

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานะทางเศรษฐกิจครัวเรือนและความเป็นอยู่ของครัวเรือนผู้หญิงที่สมรสข้ามวัฒนธรรม ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพในหมู่บ้านชนบทแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่นที่มีครัวเรือนผู้หญิงที่สมรสกับชาวตะวันตก จำนวน 10 ครัวเรือน เลือกมาอย่างเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 11 รายร่วมกับการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอผลการวิจัยโดยการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ครัวเรือนผู้หญิงที่สมรสข้ามวัฒนธรรมมีสถานะทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่แตกต่างกัน 3 รูปแบบ ได้แก่ 1) ครัวเรือนที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ดีขึ้นมาก เป็นครัวเรือนที่มีรายได้เพิ่มขึ้น มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้น มีการออม และไม่มีหนี้สิน 2) ครัวเรือนที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ดีขึ้นค่อนข้างมาก เป็นครัวเรือนที่มีรายได้เพิ่มขึ้น มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้น ไม่มีหนี้สิน แต่ไม่มีการออม และ3) ครัวเรือนที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ดีขึ้นเล็กน้อย เป็นครัวเรือนที่มีรายได้เพิ่มขึ้น ไม่มีหนี้สิน ไม่มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้น และไม่มีการออม 

ABSTRACT

The purposes of this research are to examine economic and  wellbeing  of  the cross-cultural marriage women in rural Isan. This qualitative research  studied  the rural village , Khon Kaen province which selected 10 households of cross-cultural marriage  women by purposive sampling. Data was collected through in-depth interview with  11 Key informants  as well as non-participant observation. Content analysis was applied for qualitative data analysis.The  research indicate  that  households of women with  cross-cultural marriage has 3 different economic status; 1) Household with a very well improved economic status and wellbeing with more income, more assets, savings and no debts, 2) Household with a well improved economic status and wellbeing with more income, more assets, no debts but  no savings, and 3) Household with a slightly improved economic status and wellbeing with more income, no debts, no further assets and no savings.

Downloads

Additional Files

Published

2016-06-27

How to Cite

(Thipsuda Preedaphan) ท. . ป., (Dr.Dusadee Ayuwat) ด. . อ., & (Dr.Sirirat Adsakul) ด. . แ. (2016). เศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของครัวเรือนผู้หญิงที่สมรสข้ามวัฒนธรรมในชนบทอีสาน (Economic and Wellbeing of the Cross - cultural Marriage Women in Rural Isan). KKU Research Journal (Graduate Studies) Humanities and Social Sciences, 3(1), 12–23. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/gskkuhs/article/view/59864

Issue

Section

บทความวิจัย (Articles)