An Analysis of the Economic Structure and the Linkage Among Production Sectors of Kalasin Province (การวิเคราะห์โครงสร้างทางเศรษฐกิจและความเชื่อมโยงระหว่างสาขาการผลิตของจังหวัดกาฬสินธุ์)
Keywords:
Economics structure (โครงสร้างทางเศรษฐกิจ), Input-output productivity model (แบบจำลองปัจจัยการผลิต-ผลผลิต), Linkage index (ดัชนีการเชื่อมโยง)Abstract
ABSTRACT
The study aims at investigating the economic structure and the linkage among production sectors, as well as prioritizing the production sectors of Kalasin Province. The coefficient table of Kalasin’s Input-Output Productivity was also constructed in 2012 including 45 production. The linkage indices were eventually calculated. Subsequently, the calculation results have been used to prioritize the production sectors based on production impacts. Therefore, the economic development guidelines should be emphasized to increase the linkages in agricultural sectors and to support more investments in the sectors, such as agriculture services, livestock, and poultry and other livestock. Additionally this should be applied for, in non-agricultural sectors, such as the food manufacturing and trade. The promotion of these sectors is likely to push the Kalasin’s economy forwards as this will stimulate other manufacturing sectors to get involved. As a result, its provincial productivity can eventually be increased, and the Gross Provincial Products (GPP) can also be expanded which will make the provincial development plan effective and will increase the population’s income within the limit of the provincial development budget.
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างทางเศรษฐกิจของจังหวัดกาฬสินธุ์ ความเชื่อมโยงของสาขา การผลิตและจัดลำดับความสำคัญของสาขาการผลิต โดยการสร้างแบบจำลองปัจจัยการผลิต-ผลผลิตของจังหวัดกาฬสินธุ์ สร้างตารางค่าสัมประสิทธิ์ของตารางปัจจัยการผลิต-ผลผลิตของจังหวัดกาฬสินธุ์ ปี พ.ศ. 2555 ขนาด 45 สาขา คำนวณดัชนีการเชื่อมโยง นำผลที่ได้จัดลำดับความสำคัญของสาขาการผลิต สรุปแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจ ได้ว่าโครงการพัฒนาควรส่งเสริมการลงทุนสาขาการผลิตภาคเกษตรกรรม คือ สาขาบริการทางการเกษตร สาขา ปศุสัตว์ สาขาการเลี้ยงสัตว์ปีก และภาคนอกเกษตรกรรม คือ สาขาอุตสาหกรรมอาหาร สาขาการค้า จะทำให้ระบบเศรษฐกิจของจังหวัดกาฬสินธุ์ขยายตัวด้านการผลิตเนื่องจากจะกระตุ้นสาขาการผลิตอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้มีการผลิตที่เพิ่มขึ้นในระดับจังหวัดและมีผลต่อการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดที่เพิ่มขึ้น เพื่อให้แผนพัฒนาจังหวัดกาฬสินธุ์มีประสิทธิภาพ สร้างรายได้ประชาชนเพิ่มสูงขึ้น ภายใต้งบประมาณการพัฒนาจังหวัดกาฬสินธุ์ที่จำกัด