การศึกษามโนมติทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ MIS เรื่อง ไฟฟ้าเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (A study of grade 11 students’ Scientific Concept and Ability in Making Scientific Model in Electroche

Authors

  • ณัฏฐ์นภันต์ กตัญรัตน์ (Natnaphan Katanrat)
  • ดร.สุวัตร นานันท์ (Dr.Suwat Nanan)

Keywords:

การจัดการเรียนรู้แบบ MIS (Model-centered instruction sequence), การสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ (Makingscientific model), มโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่องไฟฟ้าเคมี (Scientific concept of electrochemistry)

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยก่อนการทดลองทำการศึกษาแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษามโนมติทางวิทยาศาสตร์เรื่อง ไฟฟ้าเคมี ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ MIS2) เพื่อศึกษาความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้าเคมี หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ MIS กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัยที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 1 ห้องเรียน มี 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ (1) แบบวัดมโนมติ เรื่องไฟฟ้าเคมีที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.91 (2) แบบวัดความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ยเลขคณิตส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสถิติทดสอบทีผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) นักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีคะแนนเฉลี่ยมโนมติ เรื่องไฟฟ้าเคมี สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีมโนมติทางวิทยาศาสตร์ในระดับที่สูงขึ้นทุกมโนมติ (2) นักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์จัดอยู่ในระดับดีมาก

 

ABSTRACT

This study was a pre-experimental research with one group pretest-posttest design. This research aimed to (1) study the scientific concept in Electrochemistry before and after using Model-Centered Instruction Sequence (MIS), (2) study the ability of students to make scientific models in Electrochemistry after using Model-Centered Instruction Sequence (MIS). The sample group was grade 11 students’ of Roi-Ed Wittayalaischool, in the second semester of academic year 2014.One class of 29 students.The research instruments were (1) the scientific concept in Electrochemistrytestwith reliability at 0.91, (2) the scientific model making ability test with reliability at 0.93. The collected data were analyzed using arithmetic mean and standard deviation. The hypotheses were tested by using t-test. The research findings were summarized as follows: (1) The sample group mean score in the post-test of their scientific concept in Electrochemistry was higher than their pre-test scores at .05 level of significance and they had higher level of scientific concept in every scientific concept;(2) The ability of the sample group in making scientific models was rated at a very good level.

Downloads

Additional Files

Published

2016-06-28

How to Cite

(Natnaphan Katanrat) ณ. ก., & (Dr.Suwat Nanan) ด. น. (2016). การศึกษามโนมติทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ MIS เรื่อง ไฟฟ้าเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (A study of grade 11 students’ Scientific Concept and Ability in Making Scientific Model in Electroche. KKU Research Journal (Graduate Studies) Humanities and Social Sciences, 3(1), 82–92. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/gskkuhs/article/view/59875

Issue

Section

บทความวิจัย (Articles)