แนวทางการจัดการต้นทุนการรักษาพยาบาลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ ที่ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ของศูนย์ตะวันฉาย โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (Cost Management of Cleft Lip and Cleft Palate with the Universal Health Coverage Progr

Authors

  • อรรถพล กาญจนวิลานนท์ (Uttapol Kanchanawilanond)
  • ดร.ธีระ ฤทธิรอด (Dr.Theera Rittirod)
  • ดร.บวรศิลป์ เชาว์ชื่น (Dr.Bowornsilp Chowchuen)
  • สุธีรา ประดับวงศ์ (Suteera Pradubwong)
  • วีระวรรณี ตันตาปกุล (Werawannee Tuntapakul)
  • อารุณี มีศรี (Arunee Meesri)

Keywords:

ค่ารักษาพยาบาลเรียกเก็บ (Charge cost), ปากแหว่งเพดานโหว่ (Cleft lip and cleft palate)

Abstract

บทคัดย่อ

ปากแหว่งเพดานโหว่เป็นโรคที่ต้องอาศัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและเทคโนโลยีชั้นสูงในการรักษา ใช้ระยะเวลาในการรักษายาวนานและต่อเนื่องกว่า 15 ปี ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ ที่ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ของศูนย์
ตะวันฉาย โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยทำการรวบรวมข้อมูลย้อนหลัง (Retrospective Study) จากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ แล้ววิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุนกับรายได้ที่ได้รับจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ของผู้ป่วยที่รับการรักษาในระหว่าง 1 ตุลาคม 2551 ถึง 30 กันยายน 2556 ซึ่งมีผู้ป่วยทั้งหมด 50 ราย ผลการศึกษาพบว่า ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่เรียกเก็บเฉลี่ยเท่ากับ 22,739.54 บาท ต่อผู้ป่วยหนึ่งราย แต่มีข้อมูลรายรับจาก สปสช. เพียง 21 ราย เนื่องจากข้อมูลที่จัดเก็บไม่สมบูรณ์ อาจสูญหายบางส่วน มีค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บเฉลี่ย เท่ากับ 33,310.05 บาทต่อผู้ป่วยหนึ่งราย แต่เงินชดเชยที่ได้รับจาก สปสช. มีค่าเฉลี่ย 17,627.06 บาท ต่อผู้ป่วยหนึ่งราย คิดเป็นร้อยละ 52.92 ของค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บซึ่งไม่เพียงพอกับต้นทุนที่เกิดขึ้น จึงได้เสนอแนวทางในการบริหารจัดการต้นทุนโดย 1) การกำหนดแนวทางการปฏิบัติที่ดี 2) การกำหนดต้นทุนมาตรฐานแต่ละขั้นตอน 3) การกำหนดขั้นตอนการทำงาน 4) การลดกิจกรรมที่ไม่ได้วางแผน 5) การใช้เทคโนโลยีช่วยในการทำงาน 6) การจัดทำแนวการปฏิบัติมาตรฐานในการใช้วัสดุ ยาและเวชภัณฑ์ และ 7) การควบคุมจำนวนครั้งในการนัดผู้ป่วยมาฝึกพูดและการตรวจการได้ยินให้เหมาะสม เพื่อนำไปสู่การเพิ่มผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพและการลดต้นทุนการใช้ทรัพยากร

ABSTRACT

Cleft lip and cleft palate is diseases with high costs and need to take long and continuous treatment for at least 15 years. The treatment relies on specialists and high technology. It is a barrier for the poor patients and affect the social and economic system of the nation. The purpose of this study was to perform cost management of cleft lip and cleft palate patients with the universal health coverage program (UHCP) of Tawanchai Center, Srinakarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, 2008-2013. Retrospective studies were obtained from secondary data. The analyzed cost was compared with the received compensation from the National Health Security Office (NHSO). The data of 50 patients were collected and analyzed. The results revealed that total charge cost of Tawanchai cleft center was 22,739.54 Baht per patient. But the received compensation by the NHSO have 21 patients because of incomplete information have charge costs 33,310.05 Baht per patient but NHSO support 17,627.06 Baht only 52.92%. Approaching to cost management were proposed as 1) Have Best Practice 2) Set standard cost per procedure 3) Set streamlining work process 4) Reduce unplanned activity 5) Have technology 6) Resource standardize and utilization 7) Review number of speech training. After these implementation, lower incidence rate of complications can be expected then the unit cost could be reduced accordingly.

Downloads

Additional Files

Published

2016-06-29

How to Cite

(Uttapol Kanchanawilanond) อ. ก., (Dr.Theera Rittirod) ด. ฤ., (Dr.Bowornsilp Chowchuen) ด. เ., (Suteera Pradubwong) ส. ป., (Werawannee Tuntapakul) ว. ต., & (Arunee Meesri) อ. ม. (2016). แนวทางการจัดการต้นทุนการรักษาพยาบาลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ ที่ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ของศูนย์ตะวันฉาย โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (Cost Management of Cleft Lip and Cleft Palate with the Universal Health Coverage Progr. KKU Research Journal (Graduate Studies) Humanities and Social Sciences, 3(2), 65–73. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/gskkuhs/article/view/60573

Issue

Section

บทความวิจัย (Articles)