การพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง การบวก การลบ และการคูณทศนิยม (The Development of Mathematics Instructional Model Based on Constructivist Theory to Enhance A
Keywords:
รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ (Mathematics instructional model), ทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivist theory), ทักษะการคิดวิเคราะห์ (Analytical thinking skill)Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎี การสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/3 โรงเรียนเทศบาลบ้านสามเหลี่ยม สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 25 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ มีชื่อว่า OPACA Model ซึ่งกระบวนการเรียนการสอนมี 5 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน (Orientation: O) (2) ขั้นเผชิญสถานการณ์ปัญหา (Problem: P) (3) ขั้นคิดวิเคราะห์ (Analysis: A) (4) ขั้นสร้างความรู้ (Construction: C) และ (5) ขั้นนำไปใช้ (Application: A) รูปแบบการสอน ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.15/86.20 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน มีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 88.00 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอน อยู่ในระดับมาก ( = 4.45 , S.D. = 0.76 )
ABSTRACT
The objectives of this research were 1) to develop of mathematics instructional model based on constructivist theory to enhance analytical thinking skill of Prathomsuksa 5 students and 2) to study the implementation developed model. The sample group consisted of 25 Prathomsuksa 5/3 students during the second semester of 2014 academic year, at Ban Samliam Municipal School under KhonKaen Municipality Educational Office. The research findings: 1) The mathematics instructional model called OPACA Model, learning procedure had 5 steps; (1) Orientation, (2) Problem, (3) Analysis, (4) Construction, and (5) Application. The developed model had efficiency equivalent to 85.15/86.20. 2) The students’ learning achievement was higher than before, at a 0.05 level of significance. 3) The students’ skill in analytical thinking revealed that 88% of the total number of students. 4) The students’ satisfaction with this model was found at a high level ( = 4.45, S.D. = 0.76).