ผลการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับงานประดิษฐ์จากวัสดุในท้องถิ่น กลุ่มสาระ การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (Results of Integrated of Sufficient Economy Philosophy and Handicrafts from L

Authors

  • อารีรัตน์ ใจซื่อ (Arreerat Jaisue)
  • ดร.สุมนชาติ เจริญครบุรี (Dr.Sumonchat Jaroenkornburi)

Keywords:

การสอนแบบบูรณาการ (Integrated learning), หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficient economy philosophy), งานประดิษฐ์จากวัสดุในท้องถิ่น (Handicrafts from local materials)

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับงานประดิษฐ์จากวัสดุในท้องถิ่น    กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านโนนบ่อ อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 18 คน โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Design)  แบบกลุ่มเดียว (One-shot Case Study) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับงานประดิษฐ์จากวัสดุในท้องถิ่น จำนวน 8 แผน 2) แบบทดสอบวัดความรู้เกี่ยวกับการประดิษฐ์เศษวัสดุในท้องถิ่น 3) แบบประเมินทักษะในการประดิษฐ์เศษวัสดุในท้องถิ่น  และ 4) แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน  วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า  1. นักเรียนมีคะแนนความรู้เกี่ยวกับการประดิษฐ์เศษวัสดุในท้องถิ่น เฉลี่ยร้อยละ 89.36 และจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ คะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการประดิษฐ์เศษวัสดุในท้องถิ่นของนักเรียน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม และมีจำนวนนักเรียนผู้สอบผ่านตามเกณฑ์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด (75/70) 2. นักเรียนมีคะแนนทักษะในการประดิษฐ์เศษวัสดุในท้องถิ่น ในภาพรวม อยู่ในระดับดี  ( = 2.72) 3. นักเรียนมีคะแนนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในภาพรวมอยู่ในระดับดี ( = 2.79) และมีแนวโน้มของคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นตามแผนการจัดการเรียนรู้ ( = 2.47, 2.55, 2.70, 2.75, 2.86, 2.93, 2.94 และ 2.98 ตามลำดับ)

Abstract

The research aimed to investigate the results of integrated learning of sufficient economy philosophy and handicrafts from local materials. The target group included 18 Grade 6 students of Bannonbo School, second semester of 2014 academic year. The experimental design as one-shot case study was employed. The research instruments were: 1) 8 integrated lesson plans; 2) learning achievement test; 3) psychomotor skill evaluation form; and 4) student’s desirable characteristics based on sufficient economy philosophy evaluation form. The research data was analyzed by percentage, mean, and standard deviation. The research found that: 1. The student’s knowledge average scores was 89.36 percent and 100 percent of the students pass the prescribed criterion (75/70) 2. Overall, the student’s psychomotor skill were at the good level ( = 2.72) 3. Overall, the students’ desirable characteristics based on sufficient economy philosophy were at the good level ( = 2.79) and evaluate during the research implementation ( = 2.47, 2.55, 2.70, 2.75, 2.86, 2.93, 2.94 and 2.98 respectively).

Downloads

Additional Files

Published

2016-06-29

How to Cite

(Arreerat Jaisue) อ. . ใ., & (Dr.Sumonchat Jaroenkornburi) ด. เ. (2016). ผลการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับงานประดิษฐ์จากวัสดุในท้องถิ่น กลุ่มสาระ การเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (Results of Integrated of Sufficient Economy Philosophy and Handicrafts from L. KKU Research Journal (Graduate Studies) Humanities and Social Sciences, 3(3), 25–34. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/gskkuhs/article/view/60578

Issue

Section

บทความวิจัย (Articles)