The Effect of Interaction on the Acquisition¬ of Pragmatic Polite Expressions (ผลของปฏิสัมพันธ์ต่อการรับวัจนปฏิบัติศาสตร์ของสำนวนสุภาพ)

Authors

  • Natchanok Kettongma (ณัฐชนก เกษทองมา)
  • Dr.Chomraj Patanasorn (ดร.จอมรัฐ พัฒนศร)

Keywords:

Interaction (ปฏิสัมพันธ์), Expressions (สำนวน), Pragmatics (วัจนปฏิบัติศาสตร์)

Abstract

ABSTRACT

This study investigates the effect of interaction on the acquisition of pragmatic conventional expressions in English. The expressions which concern politeness include the speech acts of suggestions, questions, requests, asking for permissions, and refusals. The current study is quasi-experimental research. The 20 participants were non-English major students in Khon Kaen University, divided into two groups: 1 interaction group with 3-treatment sessions and 1 control group without treatment. The data were analyzed from scores obtained from the pretest and posttest, which contain written and oral test. The results revealed a significant improvement of interactional group on the use of polite expressions, considered from the accurate use of the expressions in the written test and the ability to apply the expressions to the oral test. In contrast, the control group did not show significant improvement. Thus, this study suggests that interaction can facilitate the acquisition of pragmatics on polite expressions in second language.

 

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ศึกษาผลของปฏิสัมพันธ์ซึ่งเป็นการสนทนาที่มีต่อการรับวัจนปฏิบัติศาสตร์ ซึ่งเป็นการกระทำโดยใช้คำพูดที่เกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสมของการกระทํานั้น วัจนปฏิบัติศาสตร์ในงานวิจัยนี้คือสำนวนที่เป็นแบบแผนในภาษาอังกฤษ สำนวนในงานวิจัยนี้คำนึงถึงความสุภาพของการให้คำแนะนำ คำถาม การขอร้อง การขออนุญาต และการปฏิเสธ แบบแผนของการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง ผู้เข้าร่วมงานวิจัยทั้ง 20 คนจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นนักศึกษาที่ไม่ได้เรียนวิชาเอกภาษาอังกฤษ แบ่งออกเป็นกลุ่มแบบฝึกหัดปฏิสัมพันธ์ 12 คน เข้าร่วมการทดลอง 3 คาบเรียน และกลุ่มควบคุม 8 คน ไม่มีการทดลอง การวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่คะแนนจากแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ซึ่งประกอบด้วยแบบทดสอบแบบเขียนและแบบพูด พบว่ากลุ่มปฏิสัมพันธ์มีการพัฒนาการใช้สำนวนสุภาพอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งพิจารณาจากการใช้สำนวนอย่างถูกต้องในแบบทดสอบแบบเขียน และความสามารถในการประยุกต์ใช้สำนวนในแบบทดสอบแบบพูด ขณะที่กลุ่มควบคุมไม่มีการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้น งานวิจัยนี้พบว่าปฏิสัมพันธ์หรือการสนทนานั้นช่วยส่งเสริมการรับวัจนปฏิบัติศาสตร์ของภาษาที่สองในรูปของสำนวนสุภาพ

 

Downloads

Additional Files

Published

2016-06-29

How to Cite

(ณัฐชนก เกษทองมา) N. K., & (ดร.จอมรัฐ พัฒนศร) D. P. (2016). The Effect of Interaction on the Acquisition¬ of Pragmatic Polite Expressions (ผลของปฏิสัมพันธ์ต่อการรับวัจนปฏิบัติศาสตร์ของสำนวนสุภาพ). KKU Research Journal (Graduate Studies) Humanities and Social Sciences, 3(3), 84–97. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/gskkuhs/article/view/60583

Issue

Section

บทความวิจัย (Articles)