การวิเคราะห์ผลงานจิตรกรรมที่สะท้อนความเป็นอีสานของอาจารย์ไพโรจน์ สโมสร (Analysis Art Portfolio Painting Reflecting the Northeast of AjanPairoj Samosorn)

Authors

  • ศิตธีรา สโมสร (Sittera Samosorn)
  • ดร.นิยม วงศ์พงษ์คำ (Dr.Niyom Wongpongkum)

Keywords:

จิตรกรรม (Painting), สังคมและวัฒนธรรม อีสาน (Isan social value and culture), ไพโรจน์ สโมสร (Pairoj Samosorn)

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติและผลงานของอาจารย์ไพโรจน์ สโมสร และศึกษาผลงานจิตรกรรมของอาจารย์ไพโรจน์ สโมสรที่สะท้อนความเป็นอีสาน วิจัยโดยการสังเกตงานและสัมภาษณ์นักวิชาการ มีผู้เชี่ยวชาญทางด้านศิลปะคัดเลือกผลงาน 15 ภาพ ที่สะท้อนความเป็นอีสาน แบ่งเป็น 1) ภาพเหมือนจริง (Realistic) 10 ภาพ เป็นภาพวาดเส้น (Drawing) 5 ภาพ และภาพจิตรกรรม (Painting) 5 ภาพ 2) ภาพกึ่งนามธรรม (Semi Abstract) เป็นภาพจิตรกรรม 5 ภาพ ใช้แบบสอบถามแบบปลายเปิด สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านศิลปะใน 5 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านเนื้อหา (2) ด้านรูปแบบ (3) ด้านเทคนิค (4) ด้านคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์ และ (5) ความคิดเห็นต่อผลงานที่สะท้อนความเป็นอีสาน จากการวิจัยพบว่า อาจารย์ไพโรจน์ สโมสร เกิดที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้รับการปลูกฝังและซึมซับการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมมาตั้งแต่เด็ก คุณพ่อเป็นครูช่างถม เป็นลูกศิษย์รุ่นสุดท้ายของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี อาจารย์เป็นคนต่างถิ่นที่ย้ายมาอยู่ในอีสาน เป็นนักวิชาการผู้มีความรู้เรื่องศิลปวัฒนธรรมอีสาน นักวิจารณ์ศิลปะ นักวิจัย นักอนุรักษ์ เป็นครูศิลปะ สอนตั้งแต่นักเรียนอนุบาลจนถึงระดับอุดมศึกษา สร้างสรรค์ผลงานศิลปะ เข้าหาความงามในผืนดินอีสานที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในถิ่นเกิด อาจสรุปได้ว่าผลงานของอาจารย์ไพโรจน์มี 2 ลักษณะคือ 1) ผลงานลักษณะเหมือนจริง เป็นการสะท้อนแบบตรงไปตรงมา จากการเดินทาง 2) ผลงานกึ่งนามธรรม ซึ่งจะต้องตีความ จากภาพจิตรกรรมมีสัญญะสะท้อนความเป็นอีสานอย่างชัดเจน จำแนกได้เป็น 5 ประเภท ได้แก่ 1) สถาปัตยกรรม 2) คติ ความเชื่อ 3) ธรรมชาติ 4) เครื่องมือ เครื่องใช้ 5) วิถีชีวิตของคนอีสาน ภาพจิตรกรรมของอาจารย์ไพโรจน์ มีความเป็นสุนทรียศาสตร์ สวยงาม รู้ได้ด้วยผัสสะ สุนทรียธาตุ ล้วนมีคุณค่า นอกจากความงามของภาพแล้วยังสะท้อนถึงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมอีสานได้อย่างชัดเจน เป็นภาพประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ยังได้แฝงไว้ซึ่งแนวคิด จินตนาการ สัญลักษณ์ที่สะท้อนความเป็นอีสานในผลงานภาพจิตรกรรม เช่น พญานาค ขันหมากเบ็ง นกควน เป็นต้น


ABSTRACT

This research principally focuses on AjanPairoj Samosorn’s biography and his paintings. Fifteen paintings, with the reflection of social values and northeast cultures, were selected to be a sample of the study: 10 realistic works, including 5 drawings and 5 paintings, and 5 semi abstract works. The open-ended questions were used to interview five experts in different aspects which are content, style, technique, aesthetic value, and comment on the arts that reflect Isan spirit. The findings found that AjanPiroj Samosorn was born in Nakhon Si Thammarat province, south of Thailand, where cultivated and profound his cultural preservation. He was the last generation student of Professor Silp Perasri. He later moved to live in Isan and become an expert in Isan art and culture, art critic, researcher, conservator, and teacher. He taught all levels of the learners, kinder garden to university. He expressed the unseen gorgeousness of Isan culture through his arts even though Isan is not his hometown. It can be concluded that there were two genres of works 1) realistic works, reflect straightforward from his travels, and 2) semi abstract works, the interpretation from Isan spirit in five aspects: 1) architecture, 2) belief, 3) nature, 4) instruments and 5) lifestyle of Isan people. AjanPiroj’s paintings are masterwork in the aesthetic senses with all valuable elements as historical scenes, concealed with ideas, imaginations, and symbols that reflect Isan spirit such as Naga King, Khan Mak Beng, Nok Khuan and so on.

Downloads

Additional Files

Published

2016-06-30

How to Cite

(Sittera Samosorn) ศ. ส., & (Dr.Niyom Wongpongkum) ด. ว. (2016). การวิเคราะห์ผลงานจิตรกรรมที่สะท้อนความเป็นอีสานของอาจารย์ไพโรจน์ สโมสร (Analysis Art Portfolio Painting Reflecting the Northeast of AjanPairoj Samosorn). KKU Research Journal (Graduate Studies) Humanities and Social Sciences, 4(1), 76–90. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/gskkuhs/article/view/60962

Issue

Section

บทความวิจัย (Articles)