การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

Authors

  • ปฐมสุข สีลาดเลา (Pathomsuk Seladlour)
  • ดร.เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม (Dr.Charoenwit Sompongtam)
  • ดร.สุขุม มูลเมือง (Dr.Sukhum Moonmuang)

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อทดสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลตัวบ่งชี้สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เชิงทฤษฎีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และเพื่อทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลโดยรวมและโดยจำแนกตามเพศของผู้บริหาร ขนาดและประเภทของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เปิดการสอนในระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2556 จำนวน 500 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า  5 ระดับ หาค่าความเชื่อมั่นโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา โดยใช้วิธีของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไค – สแควร์ ค่าดัชนีบอกความกลมกลืน ผลการวิจัยพบว่า โมเดลตัวบ่งชี้สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากทฤษฎีสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และตัวบ่งชี้ที่ผู้วิจัยสังเคราะห์ขึ้นทั้ง 23 ตัวบ่งชี้ มีความเหมาะสมต่อการวัดสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยตัวบ่งชี้ที่สามารถวัดสมรรถนะของผู้บริหารได้สูงสุดคือตัวบ่งชี้ด้านการวางแผนพัฒนา สามารถวัดได้ร้อยละ 71 ผลการทดสอบความไม่แปรเปลี่ยน (Invariance) ของโมเดลตัวบ่งชี้สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่าโมเดลที่สร้างขึ้นมีความไม่แปรเปลี่ยนตามเพศของผู้บริหาร, ขนาด และ ประเภทของสถานศึกษา

 

The purposes of this research were to develop competency indicators for school administrators in the basic education level in order to theoretically and empirically test the congruency and goodness of fit of the model of competency indicators for school administrators in the basic education level and to test the measurement invariance of the model, both overall and classified by genders of the administrators, school sizes, and school types. The sample consisted of 500 administrators of basic education schools in the primary level under the Office of Primary Education, Office of Basic Education Commission in the year 2013. They were obtained by multi-stage random sampling method. The research instrument was a 5-rating scale questionnaire. Test for the reliability by Cronbach Coefficient Alpha. The reliability was .87. The statistical analyses used were percentage, standard deviation, Chi-square, and goodness of fit index.  The research results show that the constructed model of competency indicators for school administrators in the basic education level fit the empirical data.  The 23 synthesized indicators were appropriate for measuring school administrators in the basic education level.  The most effective indicator was planning, which could measure 71%. The test of measurement invariance of the model competency indicators for school administrators in the basic education level showed invariance of groups of administrators with different genders, school types, and different school size

Downloads

Published

2017-09-19

How to Cite

(Pathomsuk Seladlour) ป. . ส., (Dr.Charoenwit Sompongtam) ด. . ส., & (Dr.Sukhum Moonmuang) ด. . ม. (2017). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. KKU Research Journal (Graduate Studies) Humanities and Social Sciences, 4(2), 20–34. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/gskkuhs/article/view/99524

Issue

Section

บทความวิจัย (Articles)