การประเมินระหว่างเรียนเพื่อส่งเสริมแรงจูงใจของนักเรียนในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่ใช้การศึกษาชั้นเรียน และวิธีการแบบเปิด
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การประเมินระหว่างเรียนของครูคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมแรงจูงใจของนักเรียนในชั้นเรียนที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้เป็นครูและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนบ้านบึงเนียมบึงใคร่นุ่นท่าหิน อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นโรงเรียนที่อยู่ในระบบการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิดอย่างต่อเนื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนบวกและจำนวนลบ โดยใช้หนังสือ Gateway to the future Math1 For Junior High School จำนวน 9 แผน 2) เครื่องบันทึกวีดิทัศน์ เครื่องบันทึกภาพนิ่ง และเครื่องบันทึกเสียง 3) แบบบันทึกภาคสนาม เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ กรอบแนวคิดการประเมินระหว่างเรียนเพื่อส่งเสริมแรงจูงใจของนักเรียน โดยวิเคราะห์ตามขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการแบบเปิด 4 ขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่าในชั้นเรียนที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด ครูมีการใช้การประเมินระหว่างเรียนที่ส่งเสริมแรงจูงใจของนักเรียน ในขั้นที่ 1 ขั้นนำเสนอปัญหาปลายเปิด ครูใช้การประเมินระหว่างเรียนในองค์ประกอบเป้าหมายการเรียนรู้มากที่สุด ซึ่งส่งเสริมให้นักเรียนเกิดแรงจูงใจในองค์ประกอบความสามารถในตนเอง มากที่สุด ในขั้นที่ 2 ขั้นนักเรียนเรียนรู้ด้วยตัวเองผ่านการแก้ปัญหา ครูใช้การประเมินระหว่างเรียนในองค์ประกอบนักเรียนตั้งเป้าหมายของตนเองมากที่สุด ซึ่งส่งเสริมให้นักเรียนเกิดแรงจูงใจในองค์ประกอบความสามารถในตนเองมากที่สุด ในขั้นที่ 3 ขั้นอภิปรายและเปรียบเทียบทั้งชั้นเรียน ครูใช้การประเมินระหว่างเรียนในองค์ประกอบการประเมินตนเองของนักเรียนมากที่สุด ซึ่งส่งเสริมให้นักเรียนเกิดแรงจูงใจในองค์ประกอบการประเมินตนเองมากที่สุด และในขั้นที่ 4 ขั้นสรุปโดยเชื่อมโยงแนวคิดที่เกิดขึ้นของนักเรียน ครูใช้การประเมินระหว่างเรียนในองค์ประกอบคำถามในเชิงยุทธวิธีของครูมากที่สุด ซึ่งส่งเสริมให้นักเรียนเกิดแรงจูงใจในองค์ประกอบความสามารถในตนเองมากที่สุด ครูและนักวิจัยสามารถใช้แนวทางการประเมินระหว่างเรียนในการวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมแรงจูงใจของนักเรียน และสามารถพัฒนาเป็นกรอบแนวคิดสำหรับการประเมินระหว่างเรียนในบริบทของชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด
The objective of this research was to analyze mathematics teachers’ formative assessment to support students’ motivation in mathematics classroom using Lesson Study and Open Approach. The research target group included students and teachers affiliated with the Lessons Study and Open Approach in grade 7, 2014 academic year Ban Bueng-Niam Bueng-Krainnon-Thahin school, Mueang Khon Kaen district, Khon Kaen province. This school was a subject to be under a project for professional development of mathematics teachers through Lesson Study and Open Approach, which was implemented by the Center for Research in Mathematics Education, Faculty of Education, Khon Kaen University. Research instruments for collect data are 1) Mathematics lesson plans content in Positive and negative number using the book Gateway to the future Math 1 For Junior High School for 9 plans. 2) Video recorder, Camera and Ic recorder 3) field note. The instrument for analysis is framework of formative assessment to support students' motivation analyzed based on 4 steps of Open Approach The research findings found that classroom using Lesson Study and Open Approach Teacher used formative assessment to support students' motivation. In the first stage, posing open –ended problem, teacher used formative assessment mostly in shared learning targets element. . It encourages students to achieve motivation mostly in self-efficacy element. In the second stage, students’self-learning through problem solving, teacher used formative assessment mostly in student goal setting element. . It encourages students to achieve motivation in self-efficacy element. In the third stage, whole class discussion and comparison, teacher used formative assessment mostly in student self-assessment element. It encourages students to achieve motivation mostly in self-assessment element. In the forth stage, summarizing through connecting students’mathematical ideas emerged in the classroom, teacher used formative assessment mostly in strategic teacher questioning element. It encourages students to achieve motivation mostly in self-efficacy element. Teachers and researchers can use formative assessment guidelines to plan learning activities in mathematics classroom to support students' Motivation and develop framework for formative assessment in mathematics classroom using Lesson Study and open approach