การวิจัยและพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามหลักโยนิโสมนสิการเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิด และการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้านการสื่อสาร

Authors

  • นันทวัน พัวพัน (Nuntawan Phuaphan)

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามหลักโยนิโสมนสิการในการพัฒนาทักษะการคิดและการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้านการสื่อสาร โดยใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา กลุ่มที่ศึกษาคือ นักศึกษา ครู ชั้นปีที่ 4 จำนวน 55 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ตามหลักโยนิโสมนสิการ แบบวัดการคิดแบบโยนิโสมนสิการ แบบประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้านการสื่อสาร แบบวัดความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา  ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษาจำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 36.36 สามารถใช้วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการอยู่ในระดับดี แนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนรู้นี้ที่ส่งเสริมการพัฒนาการคิดแบบโยนิโสมนสิการได้คือ 1) การสร้างสถานการณ์ที่น่าสนใจสามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนมีการคิดแบบโยนิโสมนสิการในการแก้ปัญหาได้ 2) การใช้คำถามที่ครอบคลุมความรู้เดิมและความรู้พื้นฐานเป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างความคิดของผู้เรียน 3) ควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การอุปมาสำหรับแนวคิดที่เป็นนามธรรม ส่วนทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้านการสื่อสาร ผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับ พอใช้  ( = 1.92 , S.D. = 0.86)  และความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามหลักโยนิโสมนสิการในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้านการสื่อสาร ผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก ( = 4.45 , S.D. = 0.72)

 

This research aimed to study science instructional model based on Yonisomanasikarn Principles for Developing Thinking skills and Learning 21st Century Skills (Communicative Skills). The participants were 55 pre-service teacher who studied in semester 1 year 2016. The research instruments were lesson plans base on Yonisomanasikarn Principles, Thinking Yonisomanasikara test, learning in the 21st century of communication test, and the satisfaction of the students towards learning. The data were analyzed by descriptive statistics and content analysis. The research result found that 20 the pre-service teacher 36.36%  the thinking of  Yonisomanasikarn thinking skills was good. The best practice in organizing learning according to Yonisomanasikarn Principles comprised of 3 main stages with the following : 1) to create an interesting situation can encourage the students to think of reflective thinking to solve the problem, 2) The questions cover knowledge and knowledge is needed to create the idea of the pre-service teacher. 3) should be learning activities using the metaphor for an abstract concept. Learning 21st Century Skills of communication the overall assessment is fair. ( = 1.92 , S.D. = 0.86) The satisfaction of the students towards learning the results as a whole at a high level. ( = 4.45 , S.D. = 0.72)

Downloads

Published

2017-09-20

How to Cite

(Nuntawan Phuaphan) น. พ. (2017). การวิจัยและพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามหลักโยนิโสมนสิการเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิด และการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้านการสื่อสาร. KKU Research Journal (Graduate Studies) Humanities and Social Sciences, 5(2), 13–24. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/gskkuhs/article/view/99611

Issue

Section

บทความทางวิชาการ