ผลการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะ โดยใช้การเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Authors

  • ปัฐวิกรณ์ กุลไพรสาร (Pattawikorn Kunphaisan)
  • วัชรินทร์ ศรีรักษา (Watcharin Sriraksa)

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อศึกษาความคิดสร้างสรรค์เรื่อง เส้นและรูปร่าง โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบปัญหาเป็นฐาน โดยให้นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป  2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้เรื่อง เส้นและรูปร่าง โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบปัญหาเป็นฐาน โดยให้นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อจัดการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะ เรื่อง เส้นและรูปร่าง โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบปัญหาเป็นฐาน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนากอกวิทยาคาร อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำภู ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 27 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นจำนวน 6 แผน แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ และ แบบสอบถามความพึงพอใจ รูปแบบการวิจัยคือ วิจัยเชิงทดลองขั้นต้น Pre Experimental Research สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการวิจัยพบว่า  1) นักเรียนมีการการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ คะแนนจากการทำแบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะ (ทัศนศิลป์) ของนักเรียนโดยรวมทั้ง 4 ด้าน คือ ความคล่องในการคิด ความยืนหยุ่นในการคิด ความริเริ่มในการคิด และ ความคิดละเอียดลออมีค่าคะแนนรวมเฉลี่ย 4.41 คิดเป็นร้อยละ 88.35 มีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ 24.25 คน คิดเป็นร้อยละ 89.81 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด 2) นักเรียนส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยคะแนนความสวยงาม และด้านความสะอาดมากที่สุด มีคะแนนเท่ากันในระดับ ดี รองลงมาคือ ความคิดสร้างสรรค์ และ ผลสำเร็จของผลงาน และด้านที่นักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุดได้แก่ ความตรงต่อเวลา ซึ่งมีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ จำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 88.10 ของนักเรียนทั้งหมด และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานอยู่ในระดับดี (=4.34) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านที่ 2 สรุปความคิดเห็นเกี่ยวกับความรู้ที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานอยู่ในระดับดี (=4.38)

 

The research purposes were to 1) to study about creativity towards drawing lines and shapes by using problem-based learning which required students to have average score not less than 70% and more than 70% of all students were required to pass the assigned criteria 2) study studentslearning achievement on drawing lines and shapes by using problem-based learning which required students to have average score not less than 70% and more than 70% of all students were required to pass the assigned criteria 3) to study grade 7 studentssatisfaction towards the learning of drawing lines and shapes by using problem-based learning. Target group specified in this study was grade 7 students in Nakok Witthayakan, Sriboonrueang District, Nong Bua Lamphu who studies in the second semester of academic year 2015. The classroom consisted of 27 students whom were selected by using purposive sampling. Research instruments employed in the study included 6 lesson plans designed by the researcher, creativity test and satisfaction survey form. From the study, it had been found that students showed development in terms of creativity by using score obtained from 4 aspects in artistic creativity test (Visual Arts) including fluency, flexibility, originality and elaboration. Average score from all 4 aspects was reported at 4.41 or equal to 88.35 with 24.25 or equal to 89.81 of students qualified for the assigned criteria. The results related to the studentslearning achievement revealed that most of students had average score in the items of beauty and neatness at highest level followed by good level in the item of creativity and completeness of the work respectively. However, in the item of punctuality was reported at the lowest level since only 27 students or equal to 88.10  were qualified in particular item. The results of studentssatisfaction towards problem-based teaching was reported at good level ( = 4.34) with the highest average in the second item the comments and suggestions towards the knowledge obtained from problem-based learningwas at the average of good have ( = 4.38)

Downloads

Published

2017-09-20

How to Cite

(Pattawikorn Kunphaisan) ป. . ก., & (Watcharin Sriraksa) ว. . ศ. (2017). ผลการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะ โดยใช้การเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. KKU Research Journal (Graduate Studies) Humanities and Social Sciences, 5(2), 46–55. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/gskkuhs/article/view/99614

Issue

Section

บทความวิจัย (Articles)