ความสำเร็จของการนำหลักบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมาใช้ในการบริหารจัดการของกรมทางหลวงชนบท

Authors

  • กัญญพร ฉั่วสุวรรณ (Kanyaporn Choursuwan)
  • พายัพ พยอมยนต์ (Phayap Phyormyont)
  • ชัยรัตน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง (Chairat Wongkitrungruang)

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสำเร็จของการนำหลักบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมาใช้ในการบริหารจัดการของกรมทางหลวงชนบท จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการตามแนวคิดแมคคินซีย์ กับความสำเร็จของการนำหลักบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมาใช้ในการบริหารจัดการ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรกรมทางหลวงชนบท จำนวน 300 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัย พบว่าบุคลากรมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการตามแนวคิดแมคคินซีย์ และความสำเร็จของการนำหลักบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมาใช้ในการบริหารจัดการ ในภาพรวมในระดับมากที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่าบุคลากรที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ ตำแหน่งงาน ระยะเวลาในการทำงาน ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อความสำเร็จของการนำหลักการบริหารกิจการที่ดีมาใช้ในการบริหารจัดการ แตกต่างกัน ส่วนการบริหารจัดการตามแนวคิดแมคคินซีย์ มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จต่อการนำหลักการบริหารกิจการที่ดีมาใช้ในการบริหารจัดการ

 

The objectives of the research were to compare the success of good governance implementation in Department of Rupal Roads as classified by personal factors, and relationship between principle of Mckinsey management and the success of good governance implementation.  The samples were 300 staffs in Department of Rural Roads.  The data was collected from questionnaires.  The data were statistically analyzed by frequency, percentage, average, standard deviation, t-test, One-way ANOVA, and Pearson’s product moment correlation coefficient.  The statistical significance level was set at 0.05.  The research results indicated that staffs had highest level of opinions on the principle of Mckinsey management and the success of good governance implementation in overall.  Hypothesis testing  indicated that significant of opinion on the success of good governance implementation among the employees had different personal factor, including age, work position, work experience, education level and salary. Moreover, the principle of Mckinsey management related to the success of good governance implementation.

Downloads

Published

2017-09-20

How to Cite

(Kanyaporn Choursuwan) ก. . ฉ., (Phayap Phyormyont) พ. พ., & (Chairat Wongkitrungruang) ช. ว. (2017). ความสำเร็จของการนำหลักบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีมาใช้ในการบริหารจัดการของกรมทางหลวงชนบท. KKU Research Journal (Graduate Studies) Humanities and Social Sciences, 5(2), 68–80. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/gskkuhs/article/view/99616

Issue

Section

บทความวิจัย (Articles)