การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบร่วมมือกันเรียนรู้ด้วยเทคนิค STAD ที่เน้นการแก้ปัญหา แบบ SSCS เรื่อง ลำดับอนันต์และอนุกรมอนันต์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Authors

  • มุกดา ใสวารี (Mookda Saivaree)
  • ดร.หล้า ภวภูตานนท์ (Dr.Lha Pavaputanon)

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบ ร่วมมือกันเรียนรู้ด้วย เทคนิค STAD ที่เน้นการแก้ปัญหาแบบ SSCS เรื่อง ลำดับอนันต์และอนุกรมอนันต์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  2) เพื่อพัฒนาผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้มีจำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมดมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป 3) เพื่อศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง ลำดับอนันต์และอนุกรมอนันต์  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/5  จำนวน 36 คน ซึ่งกำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558  โรงเรียนเทศบาลวัดกลาง  อำเภอเมืองขอนแก่น  จังหวัดขอนแก่น  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ  เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติการ  เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติ  เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และการสรุปความเรียง  ผลการวิจัย พบว่า  1.  การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบร่วมมือกันเรียนรู้ด้วยเทคนิค STAD ที่เน้นการแก้ปัญหาแบบ SSCS ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้ 1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 2) ขั้นนำเสนอบทเรียนต่อทั้งชั้น 3) ขั้นศึกษากลุ่มย่อย 4) ขั้นสรุป 5) ขั้นฝึกทักษะ 6) ขั้นทดสอบย่อย 7) ขั้นการคิดคะแนนความก้าวหน้า 8) ขั้นยกย่องกลุ่มที่ประสบความสำเร็จ  2. นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ย 31.75 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 79.38  และจำนวนผู้ผ่านเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 83.33  ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้  3. นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหา ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 83.10  โดยการทดสอบการแก้ปัญหาขั้น S : Search ขั้น C : Create ขั้น S : Solve ขั้น S : Share นักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 89.00, 83.83, 82.00 และ 77.75 ตามลำดับ

 

The objectives of this research were to 1) develop Mathematics learning activities used Cooperative  Learning  Model  with  STAD  Technique  Emphasizing  SSCS  Problem  Solving   on   Infinite Sequences  and  Infinite  series for   Mathayomsuksa  6  2) develop the Mathematics learning achievement of  Mathayomsuksa 6 students  that not less than 70 percent of the whole students would gain the learning achievement at least 70 percent upwards 3) study Mathayomsuksa  6’mathematic problem solving abilities on Infinite Sequences  and Infinite  series. The samples were 36 students from Mathayomsuksa 6/5  who were studying in the second semester of academic year 2015 at Wat Klang Municipal School, Mueng, KhonKaen province. The instruments  used in this study  were 1) the instruments implemented in an experiment 2) the instruments  used  to  reflect the results of  activities  3) the instruments employed  to assess an efficiency of the students learning. The data were analyzed  by  mean (), percentage and concluded in descriptive  form.  The results  of  this  study  as  followings; 

1. The learning activities used Cooperative Learning Model with STAD Technique Emphasizing SSCS  Problem Solving consisted of learning steps as follow; 1)Introduction 2) Presentation 3) Student Teams 4) Conclusion  5) Practice  6) Quiz 7) Progressive Calculation 8) Encouragement 2. The students get the learning achievement mean score at 31.75 (79.38%) and 83.33 % of students could pass the criteria according to the expected criteria of this study. 3. The average scores of problem solving abilities test were 83.10 %. And the average score in the stages of Search, Solve, Create, and Share were 89.00%, 83.83%, 82.00% and 77.75 %  respectively.

Downloads

Published

2017-09-20

How to Cite

(Mookda Saivaree) ม. ใ., & (Dr.Lha Pavaputanon) ด. ภ. (2017). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบร่วมมือกันเรียนรู้ด้วยเทคนิค STAD ที่เน้นการแก้ปัญหา แบบ SSCS เรื่อง ลำดับอนันต์และอนุกรมอนันต์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. KKU Research Journal (Graduate Studies) Humanities and Social Sciences, 4(3), 28–38. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/gskkuhs/article/view/99644

Issue

Section

บทความวิจัย (Articles)