การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบร่วมมือกันเรียนรู้ เทคนิค STAD ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารระคน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Authors

  • ศิริรัตน์ ศาสตร์แก้ว (Sirirat Sartkaew)
  • เกื้อจิตต์ ฉิมทิม (Kuajit Chimtim)

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิค STAD ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่องการบวก ลบ คูณ หารระคน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีจำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมด มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป  และ 3) เพื่อศึกษาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนบ้านหนองล่าม จำนวน 15 คน ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่   ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  และสรุปความเรียง ผลการวิจัยพบว่า  1. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิค STAD ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ มีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 8 ขั้น ได้แก่ 1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 2) ขั้นสอน มี 5 ขั้นตอนย่อย ได้แก่ 2.1  ขั้นกำหนดสิ่งที่ต้องการวิเคราะห์ 2.2 ขั้นกำหนดปัญหา  2.3 ขั้นกำหนดหลักการหรือกฎเกณฑ์ 2.4 ขั้นพิจารณาแยกแยะ 2.5 ขั้นสรุปคำตอบ 3) ขั้นสรุป 4) ขั้นศึกษากลุ่มย่อย 5) ขั้นฝึกทักษะ 6) ขั้นการทดสอบย่อย 7) ขั้นการคิดคะแนนความก้าวหน้า 8) การยกย่องกลุ่มที่ประสบความสำเร็จ 2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยร้อยละ 72.00  และมีจำนวนนักเรียนร้อยละ 73.33 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมดมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ร้อยละ70 ขึ้นไป  3. นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการคิดวิเคราะห์เฉลี่ยร้อยละ 84.67 โดยมีคะแนนในขั้นกำหนดสิ่งที่ต้องการวิเคราะห์  ขั้นกำหนดปัญหา  ขั้นกำหนดหลักการหรือกฎเกณฑ์  ขั้นพิจารณาแยกแยะ  และขั้นสรุปคำตอบ  เฉลี่ยร้อยละ 100, 98.33, 76.67, 75.00 และ 73.33 ตามลำดับ

 

The purposes of the study were 1) to develop Mathematic learning activities using STAD cooperative in learning model promoting analytical thinking on mixed operations for Prathomsuksa 4 students 2) to develop the Mathematic learning outcomes of Prathomsuksa 4 students by having over 70% of all students to gain learning outcomes more than 70, and 3) to investigate the students’ analytical thinking. The participants in the study were 15 Prathomsuksa 4 students. The study was conducted in semester 2, academic year 2015 at Nong Lam school. The research design was Action Research. The data analysis was analyzed by using percentage, standard deviation, and descriptive analysis. The findings showed that 1. The development of Mathematic learning activities using STAD cooperative in learning model promoting analytical thinking on mixed operations included 8 steps of learning activities as followed: 1) Lesson introduction 2) Teaching steps divided into 5 sub-steps which were 2.1) Determination of what to analyze 2.2) Determination of problems 2.3) Regulation of principle 2.4) Distinguish consideration 3) Summarizing 4) Learning group 5) Practice 6) Test or quiz 7) Score increase in the individual 8) Award group 2. The students had 72.00 % of learning outcomes and 73.33 % of all students had learning outcomes over 70%.3. The students’ analytical thinking scores were 84.67% based on score of determination of what to analyze, determination of problems, regulation of principle, distinguish consideration, and summarizing, which revealed the percentage as followed: 100, 98.33, 76.67, and 73.33.

Downloads

Published

2017-09-20

How to Cite

(Sirirat Sartkaew) ศ. ศ., & (Kuajit Chimtim) เ. ฉ. (2017). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบร่วมมือกันเรียนรู้ เทคนิค STAD ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารระคน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. KKU Research Journal (Graduate Studies) Humanities and Social Sciences, 4(3), 39–48. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/gskkuhs/article/view/99645

Issue

Section

บทความวิจัย (Articles)