การศึกษาการเชื่อมโยงระหว่างประสบการณ์ตรง ภาษา ภาพและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ ในการสร้างมโนมติทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

Authors

  • อักขราวุธ กันหาป้อง (Aukkarawut Kanhapong)
  • ดร.หล้า ภวภูตานนท์ (Dr.Lha Phawaphootanon)

Abstract

วัตถุประสงค์การวิจัย  เพื่อศึกษาการเชื่อมโยงระหว่างประสบการณ์ตรง  ภาษา ภาพและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ ในการสร้างมโนมติทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 6 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 2 คน วิเคราะห์ข้อมูลจากการถอดโปรโตคอล บทสัมภาษณ์ และผลงานนักเรียน ตามกรอบแนวคิดการเชื่อมโยงการเรียนรู้ของ Haylock and Cockburn [1] ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนกลุ่มที่ 1 แก้ปัญหาผ่านการเชื่อมโยง 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การเชื่อมโยงระหว่างประสบการณ์ตรง ภาษา ภาพและสัญลักษณ์ สามารถอธิบายเชิงรูปธรรมได้ เป็นการสร้างความสัมพันธ์และใช้สัญลักษณ์ อย่างช้า ผ่านการวาดภาพและการบรรยายประกอบ 2) นักเรียนกลุ่มที่ 2 แก้ปัญหาผ่านการเชื่อมโยง 3 องค์ประกอบ ได้แก่ การเชื่อมโยงระหว่างประสบการณ์ตรง ภาษาและสัญลักษณ์ สามารถอธิบายเชิงกึ่งรูปธรรมได้ มีการสร้างความสัมพันธ์และใช้สัญลักษณ์แทนสิ่งที่เห็นหรือสัมผัส 3) นักเรียนกลุ่มที่ 3 แก้ปัญหาผ่านการเชื่อมโยง 3 องค์ประกอบ ได้แก่ การเชื่อมโยงระหว่างประสบการณ์ตรง ภาษาและสัญลักษณ์ สามารถอธิบายเชิงนามธรรมได้ มีการสร้างความสัมพันธ์และใช้สัญลักษณ์แทนสิ่งที่เห็นหรือสัมผัส เมื่อมีการเชื่อมโยงหรือการสร้างความสัมพันธ์ที่สมบูรณ์ จะเกิดภาพในจินตนาการ และได้คำตอบอย่างรวดเร็ว

 

The objective of this study was to study the connection between concrete experience, language, pictures and mathematical symbols to create mathematical concept in multiplication of grade 2 students, the Demonstration School of Khon Kaen University. The samples of this study were 6 students which were separated in to 3 groups. There were 2 students per is group. Data analysis was from Protocal Analysis, interview, and student’s product. The framework concept was from learning connection of Haylock and Cokburn [1] theory. The research findings found that: 1) Student group number one solved problem by using 4 components to connect their experience, language, pictures and symbols. They explained the answer as a concrete to make slowly a relation about symbols through drawing writing and description. 2) Student group number two solved problem by using 3 components to connect their experience, language and symbols. They explained the answer as a semi-abstract to make a relation and use mathematical symbols as things that they saw and touched. 3) Student group number three solved problem by using 3 components to connect their experience, language and symbols. They explained the answer as an abstract to make perfectly a relation and use mathematical symbols as things that they saw and touched. They also imagined a picture and got the answer quickly. 

Downloads

Published

2017-09-20

How to Cite

(Aukkarawut Kanhapong) อ. ก., & (Dr.Lha Phawaphootanon) ด. ภ. (2017). การศึกษาการเชื่อมโยงระหว่างประสบการณ์ตรง ภาษา ภาพและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ ในการสร้างมโนมติทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. KKU Research Journal (Graduate Studies) Humanities and Social Sciences, 4(3), 49–58. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/gskkuhs/article/view/99646

Issue

Section

บทความวิจัย (Articles)