การศึกษาผลการพัฒนาหลักสูตรทักษะปฏิบัติดนตรีไทยขั้นสูง โดยใช้แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

Authors

  • อรดี แก้วชะเนตร (Oradee Kaewchanet)
  • ดร.วัชรินทร์ ศรีรักษา (Dr.Watcharin Sriraksa)

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาหลักสูตรทักษะปฏิบัติดนตรีไทยขั้นสูง โดยใช้แหล่งเรียนรู้ปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2. เพื่อศึกษาผลการพัฒนาทักษะปฏิบัติดนตรีไทยขั้นสูงโดยใช้แหล่งเรียนรู้ปัญญาท้องถิ่น โดยให้นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ70 ขึ้นไป  3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หลักสูตรพัฒนาทักษะปฏิบัติดนตรีไทยขั้นสูง แผนการจัดกิจกรรม แบบประเมินทักษะปฏิบัติดนตรีไทยขั้นสูง และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การพัฒนาหลักสูตรครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการออกแบบและสร้างหลักสูตร โดยใช้รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดของ Hilda Tara ทดลองใช้หลักสูตรโดยผู้วิจัยและคณะครูผู้สอนจากแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมกันจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักสูตรให้กับกลุ่มเป้าหมาย ครบตามที่หลักสูตรกำหนดจนเสร็จสิ้นลุล่วงไปด้วยดี 2. นักเรียนมีคะแนนทักษะปฏิบัติดนตรีไทยขั้นสูง โดยคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนทุกคนผ่านเกณฑ์ร้อยละ70 เป็นไปตามที่กำหนดไว้ 3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม สรุปภาพรวมความพึงพอใจพบว่า มีค่าเฉลี่ย 4.50 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.27 อยู่ในระดับมาก ซึ่งมีความสัมพันธ์กันในเชิงบวก

 

The purposes of this research is The Research and Development by following the steps of Research and Development Process. The purposes are as follows:  1. Develop about practice advance skills of Thai musical by Local Wisdom learning resources for lower secondary school  2. To study the development about practice advance skills of Thai musical and providing students with an average score of 70 percent or above  3. To study satisfaction of participants' targeting students. The target group in this research was 8 students in lower secondary school. As the result of this research showed that:  1. This study of curriculum development, the researcher was carried out to design and curriculum construction. This model curriculum development based on the concept of Hilda Tara. Then the researcher and local wisdom teachers were learning and organizing the trail course with target group, according to the curriculum finish well done.  2. The students have the average score of practice advance skills of Thai musical. By the average score that mean all students can be passed the criteria (70 percent).  3. The result of the satisfaction of participants: The overall level of satisfaction of participants' was found that average 4.50 in high level and standard deviation is 0.27, which are related positively.

 

Downloads

Published

2017-09-20

How to Cite

(Oradee Kaewchanet) อ. . แ., & (Dr.Watcharin Sriraksa) ด. ศ. (2017). การศึกษาผลการพัฒนาหลักสูตรทักษะปฏิบัติดนตรีไทยขั้นสูง โดยใช้แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. KKU Research Journal (Graduate Studies) Humanities and Social Sciences, 4(3), 70–78. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/gskkuhs/article/view/99648

Issue

Section

บทความวิจัย (Articles)