การเปลี่ยนแปลงสัทลักษณะของวรรณยุกต์เสียงตรีในภาษาไทย

Authors

  • ผณินทรา ธีรานนท์

Keywords:

สัทลักษณะของวรรณยุกต์, ภาษาไทย

Abstract

วรรณยุกต์ในภาษาไทยมี 2 ประเภท ได้แก่ วรรณยุกต์ระดับ ประกอบด้วย วรรณยุกต์สามัญ เอกและตรี วรรณยุกต์เปลี่ยนระดับประกอบด้วย วรรณยุกต์โทและจัตวา (Abramson 1962) แต่จากงานวิจัยเรื่อง หน่วยจังหวะกับการแปรของวรรณยุกต์ในคำพูดต่อเนื่องภาษาไทย ผณินทรา (2000) ได้พบว่า สัทลักษณะของวรรณยุกต์ตรีในคำพูดเดี่ยวพยางค์
เดียวได้เปลี่ยนแปลงไป จากสัทลักษณะสูง-ระดับ เป็น กลาง-ขึ้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาการเปลี่ยนแปลงสัทลักษณะของวรรณยุกต์ตรีในคำพูดเดี่ยวพยางค์เดียว โดยเน้นการประมวลและสังเคราะห์ความรู้จากการศึกษาเชิงกลสัทศาสตร์จากผลงานวิจัยต่าง ๆ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1911-2000 รวมระยะเวลา 90 ปี ผลการวิจัยพบว่า สัทลักษณะของวรรณยุกต์ตรีได้เปลี่ยนไปแล้วโดยมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านระดับเสียงสูงต่ำ (pich heigh) จากระดับเสียงสูง
เป็น กลาง และการขึ้นลงของระดับเสียง (pitch contour) จากขึ้น-ตก เป็น ตก-ขึ้น ซึ่งเป็นลักษณะที่ตรงกันข้าม

References

ปิยฉัตร ปานโรจน์. 2534. ลักษณะเชิงกลสัทศาสตร์ของวรรณยุกต์ในภาษาไทย. กรุงเทพฯ: การแปรตามกลุ่มอายุ. วิทยานิพนธ์ปริญญมหาบัณฑิต ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ผณินทรา ธีรานนท์. 2543. หน่วยจังหวะกับการแปรของวรรณยุกต์ในคำพูดต่อเนื่องภาษาไทยวิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิไลลักษณ์ จูวราหะวงศ์. 2544. วรรณยุกต์ในภาษาไทยที่พูดโดยคนไทย คนแต้จิ๋ว และคนซิกส์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธ์. 2543. เอกสารประกอบการบรรยายชุด แนวคิดเกี่ยวกับการแปรและการเปลี่ยนแปลงของภาษาในการอบรมโครงการเครีอข่ายวิทยานิพนธ์ปริญญาทไทยศึกษา (ภาษาศาสตร์), 13-23 มกราคม 2543.

Downloads

Published

2021-04-21

How to Cite

ธีรานนท์ ผ. (2021). การเปลี่ยนแปลงสัทลักษณะของวรรณยุกต์เสียงตรีในภาษาไทย. Journal of the Faculty of Arts, Silpakorn University, 24(1-2), 188–209. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jasu/article/view/250345