บทบาทผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงานเป็นทีมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1

Main Article Content

กรรณิการ์ ทองใบ
ประเสริฐ อินทร์รักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) บทบาทผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา 2) การทำงานเป็นทีมของครู 3) ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงานเป็นทีมของครู กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 จำนวน 123 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 2 คน ประกอบด้วย 1) ผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือผู้รักษาการในตำแหน่ง จำนวน 1 คน และ 2) ครู จำนวน 1 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทผู้นำของผู้บริหารศึกษา และการทำงานเป็นทีมของครู สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน  ผลวิจัยพบว่า


1. บทบาทผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย ดังนี้ ผู้ประเมิน ผู้อำนวยความสะดวก ผู้คาดการณ์ ผู้ส่งเสริมสนับสนุน และผู้ให้คำปรึกษา ตามลำดับ


2. การทำงานเป็นทีมของครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก เมื่อพิจารณาจำแนกตามรายด้านพบว่า การทำงานเป็นทีมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 เรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย ดังนี้ การสื่อสารที่ดี ภาวะผู้นำที่เหมาะสม วัตถุประสงค์ชัดเจนและเป้าหมายเป็นที่ยอมรับ การทบทวนการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ การพัฒนาตนเอง ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม ความร่วมมือและความขัดแย้ง บทบาทที่สมดุล การสนับสนุนและการไว้วางใจซึ่งกันและกัน การปฏิบัติงานที่ชัดเจนและการตัดสินใจที่ถูกต้องเหมาะสม การเปิดเผยและการเผชิญหน้า ตามลำดับ


3. บทบาทผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์กับการทำงานเป็นทีมของครู โดยภาพรวมในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ 0.01

Article Details

How to Cite
ทองใบ ก., & อินทร์รักษ์ ป. . (2021). บทบาทผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงานเป็นทีมของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 312–328. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/243260
บท
บทความวิจัย

References

ชาติชาย ศรีจันทร์ดี. (2557). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพครู พ.ศ. 2556 (ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุญเพชร พึ่งย้อย. (2556). คุณลักษณะผู้นำกับการปฏิบัติงานเป็นทีมของบุคลากรโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร (ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปัทมา สายสอาด. (2551). ทักษะการติดต่อสื่อสารของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานเป็นทีมของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต 2 (ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2560). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิตอล. พิษณุโลก: พิษณุโลกดอทคอม.

สุวิทย์ เมษินนทรี. (2560). ปาฐกถาศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ครั้งที่ 8 เรื่อง การบริหารการศึกษาเพื่อร่วมสร้างประเทศไทย 4.0. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1. (2558). เอกสารผลสรุปผลการประเมินคุณภาพภายนอก. กลุ่มนิเทศติดตามฯ, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1. (2560). รายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการและผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของ สพฐ. ประจำปีงบประมาณ. กลุ่มนโยบายและแผน, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1.

อภิญญา ศรีเวียง. (2559). บทบาทของผู้บริหารกับการบริหารจัดการระบบคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากล (ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Emmerik, H. V., & Brennikmeijer, V. (2009). Deep – Level Similarity and Group Social Capital: Associations with Team Functioning. Retrieved from http://sgr.sagepub.com/content/40/6/650.abstract

Farren, C., & Kaye, B. L. (1996). New Skills for New Leadership Roles, in The Leader of the future: new visions, strategies and practices for the next era. New York: The Drucker Foundation.

Katzenbach, R. J., & Smith, K. D. (1993). The Wisdom of Teams. Cambridge: McGraw–Hill.

Lunenburg, F. C., & Ornstein, A. C. (2012). Educational Administration: Concepts and practices. (6th ed.). Bel Mont, CA: Wadsworth.

Woodcock, M., & Francis, D. (1994). The eleven Building Blocks of Effective Teamwork. Great Britain: The University Press.