ปัจจัยสุขภาพองค์การที่ส่งผลต่อคุณภาพการบริการของ สานักงานพัฒนาชุมชน จังหวัดราชบุรี

Main Article Content

เอกรัตน์ ครุฑชา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยสุขภาพองค์การและระดับคุณภาพการบริการของสานักงานพัฒนาชุมชน จังหวัดราชบุรี 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสุขภาพองค์การกับคุณภาพการบริการของสานักงานพัฒนาชุมชน จังหวัดราชบุรี 3) เพื่อศึกษาปัจจัยสุขภาพองค์การที่ส่งผลต่อคุณภาพการบริการของสานักงานพัฒนาชุมชน จังหวัดราชบุรี ใช้วิธีวิจัยแบบกลุ่มตัวอย่างจานวน 79 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุ
ผลการวิจัย พบว่า
1. ปัจจัยสุขภาพองค์การของสานักงานพัฒนาชุมชน จังหวัดราชบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (4.38) เมื่อพิจารณาปัจจัยเป็นรายด้านเรียงลาดับจากมากไปหาน้อย ด้านการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงอย่างสมบูรณ์ (4.39) ด้านการบารุงรักษา (4.38) ด้านภารกิจ (4.36) และในส่วนคุณภาพการบริการของสานักงานพัฒนาชุมชน จังหวัดราชบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (4.38) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลาดับจากมากไปหาน้อย ด้านการตอบสนอง (4.50) ด้านการให้ความมั่นใจ (4.43) ด้านการเอาใจใส่ (4.42) ด้านความน่าเชื่อถือ (4.50) ด้านสิ่งสัมผัสได้ (4.24)
2. ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพองค์การของสานักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดราชบุรีกับคุณภาพการบริการของสานักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดราชบุรี ในภาพรวมอยู่ในระดับสูง (r=0.76) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลาดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านภารกิจ อยู่ในระดับสูง (r=0.81) ด้านการ บารุงรักษา อยู่ในระดับสูง (r=0.72) และด้านการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างสมบูรณ์ อยู่ในระดับสูง (r=0.69) ตามลาดับ
3. ปัจจัยสุขภาพองค์การมีอิทธิพลต่อคุณภาพการบริการอย่างมีนัยสาคัญที่ระดับ .05 และมีอิทธิพลทางบวก เรียงตามลาดับดังนี้ ด้านภารกิจ (β=0.777) และด้านการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างสมบูรณ์ (β=0.212) โดยตัวแปรพยากรณ์สามารถทานายตัวแปรเกณฑ์ได้ร้อยละ 81.40

Article Details

How to Cite
ครุฑชา เ. . (2020). ปัจจัยสุขภาพองค์การที่ส่งผลต่อคุณภาพการบริการของ สานักงานพัฒนาชุมชน จังหวัดราชบุรี. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1(2), 13–24. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/243473
บท
บทความวิชาการ

References

กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2560). บทบาทหน้าที่สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด. ค้นเมื่อ พฤษภาคม 20, 2560, จาก http://ratchaburi.cdd.go.th/
ชลธิชา ศรีบำรุง. (2557). คุณภาพการให้บริการของธนาคารกรุงเทพ สาขาดอนหัวฬ่อ จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชัชวาล อรวงศ์ศุภทัต. (2554). สุขภาพองค์การ. ค้นเมื่อพฤษภาคม 17, 2560, จาก http://www.tpa.or.th/
นรารัตน์ อ่อนศรี. (2554). คุณภาพการให้บริการของศูนย์บริการลูกค้าบริษท ทีโอที จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่แจ้งวัฒนะ. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
พรประภา ไชยอนุกูล. (2557). คุณภาพการให้บริการของสถานที่ท่องเที่ยวที่มีผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี. การค้นคว้าอิสระ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 - 2564. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.