การจัดการความรู้ระบบรักษาความปลอดภัยเครือข่ายไร้สาย 5G ของผู้บริโภคเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล

Main Article Content

สรศักดิ์ สุรพันธ์เสรี
กรเอก กาญจนาโภคิน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความรู้ระบบรักษาความปลอดภัยเครือข่ายไร้สาย 5G และ 2) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความรู้ระบบรักษาความปลอดภัยกับความรู้ระบบรักษาความปลอดภัยเครือข่ายไร้สาย 5G  รูปแบบการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งการเก็บรวบข้อมูลโดยจะใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือทดสอบในการวิเคราะห์สถิติ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้การวิเคราะห์ทดสอบ แบบที (t-Test) การวิเคราะห์ความแปรปรวน (One way Anova) และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยเพียรสัน (Pearson Correlation) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 คือการจัดการความรู้ของผู้บริโภคมีตามวัตถุประสงคิ ซึ่งสถิติที่ความคิดเห็นภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.923 และ 2. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 คือความสัมพันธ์กันระหว่าง การจัดการความรู้ระบบรักษาความปลอดภัย กับ ความรู้ระบบรักษาความปลอดภัยเครือข่ายไร้สาย 5G ผู้บริโภค พบว่าในภาพรวมมีความสัมพันธ์กัน (R=.707) และเมื่อพิจารณารายด้านแล้วพบว่า การจัดการความรู้ระบบรักษาความปลอดภัยเครือข่ายไร้สาย 5G มีความสัมพันธ์กัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

Article Details

How to Cite
สุรพันธ์เสรี ส., & กาญจนาโภคิน ก. (2020). การจัดการความรู้ระบบรักษาความปลอดภัยเครือข่ายไร้สาย 5G ของผู้บริโภคเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(3), 324–341. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/243536
บท
บทความวิจัย

References

ณพศิษฏ์ จักรพิทักษ์. (2552). ทฤษฎีการจัดการความรู้. เชียงใหม่: วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ประพนธ์ ผาสุขยืด. (2547). การจัดการความรู้ฉบับมือใหม่หัดขับ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ใยไหม.

มัลลิกา บุนนาค. (2542). สถิติเพื่อการตัดสินใจ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมชาย วรกิจเกษมสกุล. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). อุดรธานี: อักษรศิลป์อุดรธานีการพิมพ์.

สุวิมล ติรกานันท์. (2548). การประเมินโครงการ : แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Ericsson. (2015). 5G security-enabling a trustworthy 5G system. สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2562, จาก https://www.ericsson.com/en/reports-and-papers/white-papers/5g-security-enabling-a-trustworthy-5g

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.

Sekaran, U. (2003). Research Methods for Business: A Skill-Building Approach (4th ed.). John Wiley & Sons, New York.