การจัดการทุนมนุษย์ของบริษัทเอกชนที่มีผลต่อการตัดสินใจสมัครเข้าทำงานของนักศึกษาจบใหม่

Main Article Content

รัตนา กาญจนศิริสกุล
กรเอก กาญจนาโภคิน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการทุนมนุษย์ของบริษัทเอกชน 2) เพื่อศึกษาการตัดสินใจสมัครเข้าทำงานในบริษัทเอกชนของนักศึกษาจบใหม่ และ 3) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการทุนมนุษย์ของบริษัทเอกชนที่มีผลต่อการตัดสินใจสมัครเข้าทำงานของนักศึกษาจบใหม่ รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้ทฤษฎีการจัดการทุนมนุษย์ และการตัดสินใจเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัยคือกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักศึกษาจบใหม่จากสถาบันอุดมศึกษารัฐบาล เอกชน และต่างประเทศ จำนวน 400 คน  วิธีคัดเลือกแบบบังเอิญ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เครื่องมือทางสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ทดสอบที (t-Test) การวิเคราะห์ความแปรปรวน (One-way Anova) และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยเพียร์สัน (Pearson Correlation) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 การจัดการทุนมนุษย์ของบริษัทเอกชนภาพรวมอยู่ในระดับมาก  (gif.latex?\bar{x} = 4.11, S.D. = 0.691) 2) ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่าการตัดสินใจสมัครเข้าทำงานในบริษัทเอกชนของนักศึกษาจบใหม่ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก  ( gif.latex?\bar{x} = 4.17, S.D. = 0.745) และ  3) ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 พบว่าการจัดการทุนมนุษย์ของบริษัทเอกชน มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจสมัครเข้าทำงานของนักศึกษาจบใหม่ โดยมีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (R) เท่ากับ .830


          ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ บริษัทเอกชนสามารถนำไปเป็นแนวทางการวิเคราะห์และวางแผนการจัดการทุนมนุษย์ให้มีความเหมาะสมกับแรงงานกลุ่มเป้าหมาย ด้วยการสื่อสารผ่านช่องทางทั้งออนไลน์และออฟไลน์สู่กลุ่มนักศึกษาจบใหม่เพื่อสืบค้นข้อมูลพื้นฐานของบริษัทก่อนการตัดสินใจสมัครเข้าทำงาน

Article Details

How to Cite
กาญจนศิริสกุล ร. ., & กาญจนาโภคิน ก. (2020). การจัดการทุนมนุษย์ของบริษัทเอกชนที่มีผลต่อการตัดสินใจสมัครเข้าทำงานของนักศึกษาจบใหม่. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(3), 548–562. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/243812
บท
บทความวิจัย

References

กัลณพัฒน์ รัศมีเมฆินทร์. (2551). MD ชี้ชะตาธุรกิจ = Making Decisions Effectively. กรุงเทพ: ไอ เอ็ม บุ๊คส์.

ไกรสอน ธมฺมรํสี (คำน้อย), พระครูปลัด. (2560). รูปแบบการตัดสินใจเชิงพุทธสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. ดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรปริญญาพุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ชมพูนุช กิตติดุลยการ. (2558). การศึกษากระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธงชัย สันติวงษ์. (2546). การบริหารทุนมนุษย์ = Human Capital Management (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: บริษัท ประชุมช่าง.

ธวัชชัย มงคลสกุลฤทธิ์. (2550). จงเป็น..เจ้างั่ง..ที่ชาญฉลาด = Smart Decision. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2553). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

นพอนันต์ เพียรมั่นคง. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลในการเลือกอาชีพของนักศึกษาสาขาการจัดการการบิน สถาบันเทคโนโลยีการบิน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ และนานาชาติ ครั้งที่ 7 วันที่ 23 มิถุนายน 2559 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

บุญทัน ดอกไธสง. (2551). การจัดการทุนมนุษย์ Human Capital Management. กรุงเทพฯ: พิมพ์ตะวัน.

พิชิต เทพวรรณ์. (2555). A – Z เครื่องมือการจัดการทรัพยากรมนุษย์สมัยใหม่. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ด ยูเคชั่น.

วชิรวัชร งามละม่อม. (2558). ทฤษฎีการจัดการทุนมนุษย์. สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2562, จาก http://learningofpublic.blogspot.com/2015/09/blog-post_45.html

ศิริวัฒน์ เหมือนโพธิ์. (2560). กระบวนการตัดสินใจซื้อกล้องวงจร ปิดของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

อรวรรณ ไพโรจนวุฒิพงศ์. (2560). การจัดการทุนมนุษย์ในฐานะปัจจัยคั่นกลางที่ถ่ายทอดอิทธิพลของการจัดการความรู้และการจัดการผลงานสู่ผลการดำเนินงานขององค์การธุรกิจบริการในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.