องค์ประกอบสมรรถนะครูภาษาอังกฤษของโรงเรียนประถมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอองค์ประกอบสมรรถนะครูภาษาอังกฤษของโรงเรียนประถมศึกษา และผลการยืนยันองค์ประกอบสมรรถนะครูภาษาอังกฤษของโรงเรียนประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 97 โรงเรียน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยการเปิดตารางประมาณขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร่ ยามาเน่ ที่ความเชื่อมั่น 90% ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 97 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 3 คน คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการและครู รวม 291 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง แบบสอบถามความคิดเห็น และแบบสอบถามเพื่อการยืนยัน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบสมรรถนะครูภาษาอังกฤษของโรงเรียนประถมศึกษา ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ 41 ตัวแปร คือ1) การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนและการใช้สื่อมี 7 ตัวแปร 2) การใช้เทคนิควิธีการสอนและออกแบบประเมินผู้เรียนมี 7 ตัวแปร 3) การบริหารจัดการชั้นเรียนมี6ตัวแปร 4) การออกแบบการสอนอย่างมีส่วนร่วมมี 6 ตัวแปร 5) การถ่ายทอดและการให้คำปรึกษาในวิชาชีพมี 6 ตัวแปร 6) การใช้นวัตกรรมทางภาษาที่หลากหลายมี 5 ตัวแปร และ 7) การพัฒนาหลักสูตรมี 4 ตัวแปร 2. ผลการยืนยันองค์ประกอบสมรรถนะครูภาษาอังกฤษของโรงเรียนประถมศึกษา ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิทุกคนมีความเห็นพ้องต้องกันว่าองค์ประกอบและตัวแปรสมรรถนะครูภาษาอังกฤษของโรงเรียนประถมศึกษาทุกองค์ประกอบและตัวแปรมีความถูกต้อง เหมาะสม เป็นไปได้ และเป็นประโยชน์
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. การวัดแลประเมินผลอิงมาตรฐานการเรียนรู้ฯ กลุ่มสาระการเรียนการรู้ภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
ชัชรีย์ บุนนาค. (2562). ปัญหาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทย และข้อเสนอแนะด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ปี 2564-2568. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 2 “Graduate School Conference 2018”, 2(1), 235-241.
ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์ และคณะ. (2555). มาตรฐานวิชาชีพครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ธัญญลักษณ์ เวชกามา. (2562). รูปแบบพัฒนาสมรรถนะครูด้านการสอนภาษาอังกฤษของโรงเรียนประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ภัทรนรินทร์ บิชอป, ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน และอมร มะลาศรี. (2559). การพัฒนาตัวบ่งชี้การประเมินสมรรถนะครูต่างชาติที่สอนวิชาภาษาอังกฤษในระดับประถมศึกษา. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 22(2), 247-261.
สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. (2548). แนวทางการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ด้วย Competency. กรุงเทพฯ: ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์.
วิจารณ์ พานิช. (2553). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับลิชชิ่ง.
อุพิษ เหมือนทอง, นิราศ จันทรจิตร และลักขณา สริวัฒน์. (2559). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้ทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 22(2), 364-378.
Peacock, M. (2002). The Good Teacher of English & A Foreign Language. Perspectives: Working Papers in English & Communication, 14(1), 65-75.