ผลการนวดไทยต่อผู้ป่วยอาการปวดข้อเข่าและอาการข้อเข่าฝืดในคลินิกแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลหลวงพ่อเปิ่น จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

สุจิตรา บุญมาก

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลของการนวดไทยต่ออาการปวดข้อเข่า 2) เพื่อศึกษาผลของการนวดไทยต่ออาการข้อเข่าฝืด 3) เพื่อศึกษาผลของการนวดไทยต่อองศาการเคลื่อนไหวของข้อเข่า และ 4) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในการนวดไทยต่ออาการปวดข้อเข่าและอาการข้อเข่าฝืด รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลัง ในผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์และมารับบริการ ในคลินิกแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลหลวงพ่อเปิ่น จังหวัดนครปฐม จำนวน 40 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) เป็นแบบสอบถาม 2) วิธีการนวดไทย  การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้สถิติเชิงอนุมาน  Paired t-test sign rank test


            ผลการวิจัยพบว่าผลของการนวดไทยต่ออาการปวดข้อเข่าค่าเฉลี่ยระดับอาการปวด ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ผลของการนวดไทยต่ออาการข้อเข่าฝืด ค่าเฉลี่ยระดับอาการฝืด ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ผลของการนวดไทยต่อองศาการเคลื่อนไหวของข้อเข่าสามารถเคลื่อนไหวข้อเข่าได้ดีขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 4) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในการนวดไทยต่ออาการปวดข้อเข่าและอาการข้อเข่าฝืด พบว่าผลโดยรวม  มีระดับความพึงพอใจที่มีต่อการรักษามากที่สุด  

Article Details

How to Cite
บุญมาก ส. (2020). ผลการนวดไทยต่อผู้ป่วยอาการปวดข้อเข่าและอาการข้อเข่าฝืดในคลินิกแพทย์แผนไทยโรงพยาบาลหลวงพ่อเปิ่น จังหวัดนครปฐม . วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(3), 518–532. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/244350
บท
บทความวิจัย

References

กิติศักดิ์ รุจิกาญจนรัตน์. (2561). ประสิทธิผลของการนวดไทยร่วมกับการทำท่าบริหารฤๅษีดัดตนเพื่อบรรเทาอาการ ปวดของโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ตำบลนาวุ้ง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี. ศรีนครินทร์เวชสาร, 33(4), 339-345.

กลุ่มงานพัฒนาวิชาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. (2552). คู่มือประชาชนในการดูแล สุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

กลุ่มงานฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรด้านการแพทย์แผนไทย สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. (2553). ตำราผู้ช่วยแพทย์แผนไทย 372 ชั่วโมง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

ซานียะห์ มะแงสะแต. (2561). การศึกษาผลการนวดรักษาแบบราชสำนักร่วมกับพอกเข่าด้วยสมุนไพร เปรียบเทียบกับการนวดรักษาแบบราชสำนักร่วมกับประคบสมุนไพรในการรักษาภาวะข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ ตำบลกาตอง อำเภอยะหา จังหวัดยะลา. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.

บุญชม ศรีสะอาด. (2541). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย 1 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ; สุวีริยาสาร์น.

ปรีชา หนูทิม และคณะ. (2550). การศึกษาภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย: กรณีศึกษาของหมอพา รักนุ้ย จังหวัดพัทลุง. นนทบุรี: สถาบันการแพทย์แผนไทย.

พัชรพร สุคนธสรรพ์. (2546). ผลการใช้ลูกประคบและการบริหารเข่าเพื่อลดอาการปวดเข่าของผู้สูงอายุที่ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. Thai Health Promotion Journal 2004, 1(1), 23-25.

ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย. (2554). แนวปฏิบัติบริการสาธารณสุขโรคข้อเข่าเสื่อม พ.ศ. 2554. สืบค้นจาก www.rcost.or.th

สมพร ภูติยานันต์. (2542). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทยว่าด้วยสมุนไพรกับการแพทย์แผนไทย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โครงการตำรา สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

สมบัติ ตาปัญญา. (2540). สัมผัสแห่งความรัก ศิลปะการนวดแบบไทย. กรุงเทพฯ: แสงตะเกียง.

เสก อักษรานุเคราะห์. (2543). Modified WOMAC Scale for Knee Pain. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร , 9(3), 82-85. http://rehabmed.or.th/main/wp-content/uploads/2015/01/L-126.pdf

Kuptniratsaikul, V., & Rattanachaiyanont, M. (2007). Validation of a modified Thai version of the Western Ontario and McMaster (WOMAC) Osteoarthritis Index for knee osteoarthritis. Clinical Rheumatology, 26(10), 1641-1645.