รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างปัจจัยด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญกับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Main Article Content

วีรวัฒน์ จันทรัตนะ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) เพื่อจัดกลุ่มนักเรียนตามระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 3) เพื่อวิเคราะห์กลุ่มแฝงความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และ 4) เพื่อศึกษารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างปัจจัยด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ปัจจัยระดับนักเรียน ปัจจัยระดับโรงเรียนต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูและนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 1,600 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบทดสอบ จำนวน 3 ฉบับ


ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา อยู่ในระดับดี (gif.latex?\bar{x}= 15.11 คิดเป็นร้อยละ 75.55) 2) ผลการวิเคราะห์กลุ่มแฝงตามระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ พบว่า สามารถจำแนกนักเรียนได้เป็น 3 กลุ่ม 3) การจำแนกกลุ่มแฝงความสามารถในการคิดวิเคราะห์ พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มแฝงความสามารถในการคิดวิเคราะห์ มีความสัมพันธ์กับจังหวัด 4) รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างปัจจัยด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ปัจจัยด้านการกำหนดเป้าหมาย ปัจจัยด้านกลยุทธ์ด้านความคิด ความเข้าใจที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ในระดับนักเรียนและระดับโรงเรียน พบว่า โมเดลแบบจำลองที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์


องค์ความรู้/ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ พบว่า ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ได้รับอิทธิพลรวมและอิทธิพลทางตรงจากการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ กลยุทธ์ด้านความคิดความเข้าใจ และการกำหนดเป้าหมายและได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผ่านตัวแปรกลยุทธ์ด้านความคิดความเข้าใจและตัวแปรการกำหนดเป้าหมาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


         

Article Details

How to Cite
จันทรัตนะ ว. (2020). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างปัจจัยด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญกับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(3), 419–436. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/244553
บท
บทความวิจัย

References

คณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้. (2543). ปฏิรูปการเรียนรู้ ผู้เรียนสำคัญที่สุด (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

จันทรานี สงวนนาม. (2545). ทฤษฎีแนวปฏิบัติการบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: บุ๊ค พอยท์.

ทิศนา แขมมณี และคณะ. (2544). วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมนเนจเม้นท์.

ทิศนา แขมมณี และคณะ. (2547). การวิจัยและพัฒนารูปแบบการปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน.กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เพ็ญแข ประจนปัจจนึก. (2536). รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูกับความสามารถในการแก้ปัญหา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). คิดวิเคราะห์: สอนและสร้างได้อย่างไร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2555). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

ลักขณา สริวัฒน์. (2549). การคิด (Thinking). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

วาสนา แดนโพธิ์. (2547). การศึกษาผลการสอนโดยให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2550). การวิเคราะห์พหุระดับ= Multi-level analysis (พิมพ์ครั้งที่ 4) .กรุงเทพฯ: ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2563). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2562. กรุงเทพฯ: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).

Brown, J., Alverson, E., & Pepa, C. (2001). The influence of a baccalaureate program on traditional, RN–BSN, and accelerated students’ critical thinking abilities. Holistic Nursing Practice, 15(3), 4–8.

Füsun K., & Meral A., (2005). Constructivist learning environment existed in English Language Teaching (ELT) Methodology II. Hacettepe University Journal of Education Faculty. 28, 118-126.

Kwan, Y. W., & Wong, A. (2015). Effects of the constructivist learning environment on students’ critical thinking ability: Cognitive and motivational variables as mediators. International Journal of Educational Research, 70, 68–79.

Nabi, A. E. (2013). Constructivist Translation Classroom Environment Survey (CTLES): Development, Validation and Application. Islamic Azad University, Arsanjan Branch, Iran.

Taylor, P.C., Fraser, B. J., & Fisher, D. L. (1997). Monitoring Constructivist Classroom Learning Environments. International Journal of Educational Research. 27(4), 293-302.