การพัฒนาการจัดการเรียนรู้บูรณาการท้องถิ่นที่เน้นภาระงานเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้บูรณาการท้องถิ่นที่เน้นภาระงานเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ ก่อนและหลังการใช้การจัดการเรียนรู้ และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 36 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด คือ 1) คู่มือการจัดการเรียนรู้ 2) แบบประเมินความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที ในและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 การจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น มีชื่อว่า SESIE Learning Steps ประกอบด้วย 5 ขั้น ได้แก่ ขั้นเร้าความสนใจ (S) ขั้นอธิบายบทเรียน (E) ขั้นเรียนรู้สู่การปฏิบัติ (S) ขั้นการนำไปใช้ (I) ขั้นประเมินผลการใช้ภาษา (E) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.62/82.33 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
2. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 ความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียน หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด
องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ พบว่าการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงานถือเป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ช่วยพัฒนาความสามารถด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษให้กับนักเรียนได้ เนื่องจากนักเรียนได้เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติด้วยตนเอง ได้ฝึกทักษะด้านการสื่อสารจากสถานการณ์จำลองในชั้นเรียนผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ครูจัดขึ้น
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
กรมวิชาการ. (2545). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ.
รพีพรรณ สุฐาปัญณกุล. (2557). การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษเทคนิค โดยวิธีการสอนที่เน้นภาระงานและโครงงานเพื่อพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ และความคิด สร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี(วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วรรณพรรณ เลิศวัตรกานต์. (2556). การพัฒนาชุดกิจกรรมโดยเน้นงานปฏิบัติเพื่อฝึกทักษะการฟังและพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมารีวิทยา(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วไลลักษณ์ พัสดร. (2553). การพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป โดยบูรณาการแหล่งเรียนรู้ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเคียงคู่เพชรบุรี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศราธรณ์ หมั่นปรุ และ สุภาวดี ในเสนา. (2562). กลวิธีการสอนอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อส่งเสริมการฟัง พูดภาษาอังกฤษของผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ ในศตวรรษที่ 21.วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 9(2), 1-16.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
อุษา มะหะหมัด. (2548). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ จากนิทานพื้นบ้านไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดโพธิ์ จังหวัดนครปฐม(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาศิลปากร.
Littlewood, W. (1983). Communicative Language Teaching: An Introduction. Cambridge: Cambridge University.
Morrow, K. (1981). Principle of Communicative and Methodology. London: Longman.