การศึกษาทักษะการอยู่รอดทางดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

กัญยาภรณ์ กิ่งไทร
กมลทิพย์ ศรีหาเศษ
สุวิมล ติรกานันท์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะการอยู่รอดทางดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ 2) เพื่อสร้างคะแนนจุดตัด (cutting score) ที่ใช้พิจารณาปรับปรุงการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 1,764 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยคือ แบบวัดทักษะการอยู่รอดทางดิจิทัล


ผลการวิจัย พบว่าทักษะการอยู่รอดทางดิจิทัลของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยพิจารณาจากคะแนนจุดตัด ระดับที่ 1 การพิจารณาภาพรวมใช้คะแนนจุดตัดเมื่อได้คะแนน 80% ขึ้นไป มีจำนวนนักเรียนที่คะแนนผ่านจุดตัดคิดเป็นร้อยละ 10.32 ระดับที่ 2 การพิจารณารวมทักษะ กำหนดคะแนนจุดตัด ดังนี้ 1) ทักษะการจัดการเครือข่ายและไฟล์ ใช้คะแนนจุดตัดเท่ากับ 100 % มีจำนวนนักเรียนที่คะแนนผ่านจุดตัดคิดเป็นร้อยละ 33.05 2) ทักษะอภิปัญญาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ใช้คะแนนจุดตัดเท่ากับ 95% ขึ้นไป มีจำนวนนักเรียนที่คะแนนผ่านจุดตัดคิดเป็นร้อยละ 5.78 3) ทักษะการแก้ปัญหา ใช้คะแนนจุดตัดเท่ากับ 90% ขึ้นไป มีจำนวนนักเรียนที่คะแนนผ่านจุดตัดคิดเป็นร้อยละ 1.13 4) ทักษะการจัดการเอกลักษณ์ ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยทางดิจิทัล ใช้คะแนนจุดตัดเท่ากับ 85% ขึ้นไป มีจำนวนนักเรียนที่คะแนนผ่านจุดตัดคิดเป็นร้อยละ 3.23 5) ทักษะกลยุทธ์การค้นหาเว็บและฐานข้อมูล ใช้คะแนนจุดตัดเท่ากับ 80% ขึ้นไป มีจำนวนนักเรียนที่คะแนนผ่านจุดตัดคิดเป็นร้อยละ 12.64 และ 6) ทักษะการกระทำที่เป็นความผิดใน พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ใช้คะแนนจุดตัดเท่ากับ 100% มีจำนวนนักเรียนที่คะแนนผ่านจุดตัดคิดเป็นร้อยละ 45.46 และระดับที่ 3 การพิจารณารายบุคคลใช้คะแนนจุดตัดเดียวกับการพิจารณารายทักษะ โดยนำคะแนนของนักเรียนแต่ละคนไปเทียบกับคะแนนจุดตัด

Article Details

How to Cite
กิ่งไทร ก., ศรีหาเศษ ก., & ติรกานันท์ ส. (2021). การศึกษาทักษะการอยู่รอดทางดิจิทัลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(2), 678–693. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/249705
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2549). การแบ่งขนาดโรงเรียนหรือสถานศึกษาตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2549. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2563, จาก http://www.secondary5.go.th/main/sites/default/files/ed information/71-80.pdf

คณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2561). แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาเกี่ยวกับสมรรถนะดิจิทัลสำหรับคุณวุฒิปริญญาตรี. ในรายงานการประชุม เรื่อง การนำสมรรถนะดิจิทัลมาเป็นแนวทางในการกำหนดมาตรฐานผลการเรียนรู้ ด้านที่ 5

ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี (12 กันยายน 2561).

ฉัตรพงศ์ ชูแสงนิล. (2561). ยุคแห่งพลเมืองดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2562, จาก https://www.scimath.org/article-technology/item/8659-2018-09-11-07-58-08

ฐิติยา เนตรวงษ์. (2561). ห้องเรียนดิจิทัลเพื่อการเรียนร่วมและพัฒนาทักษะการอยู่รอดในยุคดิจิทัล. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา, 31(108), 15–28.

เด่นพงษ์ สุดภักดี. (2557). “การรู้ดิจิทัล”. ในรายงานการอบรม เรื่อง เทคโนโลยีสานสนเทศและการสื่อสารในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ดิจิทัลเพื่อการวิจัย (21 พฤศจิกายน 2557). กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธิดา แซ่ชั้น และ ทัศนีย์ หมอสอน. (2559). การรู้ดิจิทัล นิยาม องค์ประกอบและสถานการณ์ในปัจจุบัน. วารสารสารสนเทศ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 34(4), 116-145.

พนม คลี่ฉายา. (2559). การใช้งาน ความเสี่ยง การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล และแนวทางการสอนเพื่อการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย. โครงการวิจัยระยะที่ 1-2, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

พนม คลี่ฉายา. (2562). การใช้สื่อดิจิทัลและความเป็นพลเมืองของนักเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย. คณะนิเทศศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มนัสวี แสงวิเชียรกิจ. (2557). เปิดประตูความดีสู่วิถีอาเซียน. กรุงเทพฯ: ศูนย์คุณธรรม.

แวววรรณ เตชาทวีวรรณ และ อัจศรา ประเสริฐสิน. (2559). การพัฒนาแบบวัดทักษะประการรู้ดิจิทัลของนักศึกษาระดับปริญญาตรี (วิจัยภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศ คณะมนุษยศาสตร์). มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

วัชราภรณ์ นัยกรณ์, จันทปภา บริบูรณ์ และ นาถลดา บุตรสันติ์ (2562). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์และการรู้สารสนเทศดิจิทัลของนักศึกษาที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ระดับชั้นปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต(วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา กรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.

วิทยา ดำรงเกียรติศักดิ์. (2558). พลเมืองดิจิทัล (Digital Citizenship). สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2562, จาก http://www.infocommmju.com/icarticle/images/stories/icarticles/ajwittaya/digital/Digital_Citizenship.pdf

สุกัญญา แช่มช้อย.(2558). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล (School Management in Digital Era). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล ติรกานันท์. (2551). การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์ แนวทางสู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2559). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล (School Management in Digital Era). สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2563, จาก http://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/52232/-edu-t2s1-t2-t2s3-

AI Fern. (2020). Digital skill คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไรใน Office ยุคใหม่. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2563, จาก https://www.asearcher.com/content/digital-skill--office.

Bawden, D. (2008). Origins and Concepts of Digital Literacy. In Digital Literacies: Concepts. Policies and Practices. Ed. by C. Lankshear & M. Knobe, 17–32.

Bryn Mawr College. (n.p.). Digital Survival Skills. Retrieved December 1, 2019, from https://www.brynmawr.edu/digitalcompetencies/digital-survival-skills

Frey, B. B. (2018). The SAGE Encyclopedia of Educational Research, Measurement, and Evaluation (Vols. 1-4). Thousand Oaks, CA: SAGE Publications, Inc.

Hague, C. & Payton, S. (2010). Digital Literacy Across the Curriculum. Bristol, UK.: Future lab.

JISC. (2010). Quick Guide-Developing Students’ Digital Literacy. Retrieved May 19, 2018, from https://digitalcapability.jiscinvolve.org/wp/files/2014/09/JISC_REPORT_Digital_Literacies_280714_PRINT.pdf/