การวินิจฉัยข้อบกพร่องทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบ การคูณ การหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนในเขตพื้นที่บริการเทศบาลตำบลช้างขวา อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวินิจฉัยข้อบกพร่องทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบ การคูณ การหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนในเขตพื้นที่บริการเทศบาลตำบลช้างขวา อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ใน 3 ด้าน คือ ด้านการเข้าใจในทฤษฎีบท นิยาม ด้านการคิดคำนวณและด้านการตีความจากโจทย์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนในเขตพื้นที่บริการเทศบาลตำบลช้างขวา อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานีจากโรงเรียนทั้งหมด 6 โรง จำนวนนักเรียนทั้งหมด 99 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ โรงเรียนบ้านสะพานกฐิน 11 คน โรงเรียนบ้านหัวหมากล่าง 12 คน โรงเรียนวัดพุฒ 13 คน โรงเรียนบ้านไสตอ 20 คน โรงเรียนบ้านห้วยโศก 14 คน และโรงเรียนบ้านมะม่วงหวาน 4 คน รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่างนักเรียนทั้งหมด 74 คน คัดเลือกการสุ่มแบบกลุ่มตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบบทดสอบวินิจฉัยข้อบกพร่องทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบ การคูณ การหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นแบบทดสอบประเภทแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก โดยสร้างเป็นข้อสอบคู่ขนานจำนวน 15 คู่ รวมจำนวน 30 ข้อ ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้
1. ด้านการใช้บทนิยาม เกี่ยวกับข้อผิดพลาดในความเข้าใจ จำทฤษฎีบท สูตรกฎ นิยามและสมบัติผิด หรือประยุกต์ใช้บทนิยามไม่ถูกต้อง พบว่า มีจำนวนนักเรียนตอบผิดร้อยละ 63.5 นักเรียนที่ตอบผิดไม่สามารถอธิบายความหมายจากภาพได้ว่าภาพบ่งบอกหรือแสดงความหมายว่าอย่างไร
2. ด้านการคิดคำนวณ เกี่ยวกับ ข้อผิดพลาดจากการคิดเลขคำนวณ ทักษะการคำนวณแสดงวิธีการคิดหาคำตอบและแก้ปัญหาเบื้องต้น การบวก ลบ คูณ หาร ในเรื่องการบวก การลบ การคูณ การหารไม่ถูกต้อง มีจำนวนนักเรียนตอบผิดร้อยละ 60.8
3. ด้านการตีความหมายโจทย์ เกี่ยวกับแปลความหมายจากประโยคภาษาเป็นประโยคสัญลักษณ์ไม่ถูกต้องในเรื่องการบวก ลบ คูณ หาร ในเรื่องการบวก การลบ การคูณ การหาร พบว่า มีจำนวนนักเรียนที่ตอบผิดร้อยละ 68.9 โดยที่ข้อที่นักเรียนตอบผิดมากที่สุดคือ ข้อที่ให้นักเรียนเขียนประโยคสัญลักษณ์จากโจทย์ที่เขียนภาษาความเรียง และรองลงมาก็คือ จากโจทย์ที่เป็นภาษาความเรียงแล้วให้นักเรียนเลือกผลลัพธ์
ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนโดยจะให้ครูผู้สอนทราบ ถึงปัญหาที่ระบุไว้ในผลการวิจัยในทั้ง 3 ด้าน และสามารถนำไปใช้ปรับปรุงการสอนของครู และสอนซ่อมเสริมได้ตรงจุด ส่งผลให้นักเรียนมีความรู้พื้นฐานเพื่อนำไปต่อยอดในการเรียนเรื่องต่อไป
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ญาณัจฉรา สุดแท้. (2551). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขคณิตสองมิติและสามมิติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสารคาม.
นิรุธ จอมพุก, วารุณี ลัภนโชคดี และ ชานนท์ จันทรา. (2561). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยข้อบกพร่องทางการเรียนคณิตศาสตร์สาระที่ 4 พีชคณิต สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2. วารสารรัชต์ภาคย์, 12(27), 170-182.
ไพศาล ดาแร่, ฟ้าอาทิตย์ ท่อนทองทิพย์ และ วสวัตติ์ แก้วมาก. (2557). การสร้างระบบแบบทดสอบเพื่อวินิจฉัยข้อบกพร่องทางการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สาระที่ 4 พีชคณิต เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาด้วยสมการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 4(1), 51-59.
เบญจมาศ พุทธิมา. (2556). การพัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัยด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณและการหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 7(2), 11-21.
ฟาฏินา วงศ์เลขา. (2553). การเรียนคณิตศาสตร์: ความจําเป็นที่ไม่ควรมองข้าม. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2564, จาก http://social.obec.go.th/node/22
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2563). ผลคะแนนสอบ O-NET ปีการศึกษา 2562 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2563, จาก http://www.niest.or.th
สินี โดดหนู. (2561). การวินิจฉัยข้อกพร่องทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกชน เขตพื้นที่ประถมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2(วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นราทิพย์ ใจเพียร และ จารุวรรณ สิงห์ม่วง. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่อง การบวก ลบ ทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้แบบฝึกทักษะ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 13(3), 49-57.
สุทธิพร สุดพรหม, (2563). การพัฒนารูปแบบการสอน 2S Model สำหรับใช้ในการแก้โจทย์ปัญหาวิชาคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดปทุมธานี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(4), 281-292.
ภัทริกา อาจจุลฬา, เอกราช ดีนาง และ พัชรินทร์ ชมภูวิเศษ. (2562). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยจุดบกพร่องทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 9(2), 35-46.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Education and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.