การบริหารการเงินและบัญชีที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรงานการเงินและบัญชี สังกัดกระทรวงพาณิชย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารการเงินและบัญชีที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรงานการเงินและบัญชี สังกัดกระทรวงพาณิชย์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การบรรยายโดยสถิติเชิงพรรณนา ประชากรในการศึกษา คือ บุคลากรงานการเงินและบัญชี สังกัดกระทรวงพาณิชย์ จำนวน 285 คน โดยมีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 166 คน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรงานการเงินและบัญชี สังกัดกระทรวงพาณิชย์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารการเงินและบัญชีสังกัดกระทรวงพาณิชย์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1) การบริหารการเงินและบัญชี ด้านการรับ-จ่ายเงิน และด้านระเบียบและแนวทางการปฏิบัติงาน มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านความถูกต้องและครบถ้วนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) การบริหารการเงินและบัญชีด้านการรับ-จ่ายเงิน ด้านระเบียบแนวทางการปฏิบัติงาน และด้านการบันทึกบัญชีมีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านเสร็จตามเวลาที่กำหนด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) การบริหารการเงินและบัญชี ด้านการรับ-จ่ายเงิน ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและด้านการตรวจสอบใบสำคัญ มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านสามารถตรวจสอบได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
กรมสรรพสามิต. (2563). การบริหารการเงินและบัญชีภาครัฐ. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.excise.go.th/cs/groups/public/documents/document/mjaw/mti~edisp/webportal16200127272.pdf
กระทรวงพาณิชย์. (2563). ภารกิจและหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.moc.go.th/index.php/moc-about/2015-10-19-03-05-53/2015-10-19-03-12-52.html
กัลยา วานิชย์ปัญชา. (2560). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 28). กรุงเทพฯ: สามลดา.
ชุรีพร เมืองจันทร์ และคณะ. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างจรรยาบรรณการบัญชีบริหารกับประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีธุรกิจผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในประเทศไทย(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ณัชชา อาแล. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานทางบัญชีและคุณภาพงบการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 24(1), 19-30.
นลพรรณ บุญฤทธิ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
นวพร ขู้เปี้ยเต้ง และ จันทร์ลอย เลขทิพย์. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานตรวจสอบของผู้ช่วยผู้สอบบัญชี. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(2), 170-181.
บุสกร ภู่ระหงษ์ (2549). ผลกระทบของความรู้ความสามารถทางการบัญชีและเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลัง ระบบ GFMIS(วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พัชรินทร์ ศิริทรัพย์ (2558). ผลกระทบการใช้ระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ GFMIS ที่มีผลต่อคุณภาพรายงานการเงินของหน่วยงานราชการ: กรณีศึกษาอำเภอพระนครศรีอยุธยา(การค้นคว้าอิสระ). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
วนิดา ชุติมากุล. (2555). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดทำบัญชีในระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบระบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างมีประสิทธิภาพของบุคลากรการเงินและการบัญชี: กรณีศึกษาในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. วารสารสังคมศาสตร์, 2(1), 1-8.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2545). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
สภาวิชาชีพบัญชี. (2547). พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547. สืบค้นเมื่อ 9 มกราคม 2563, จาก http://www.tfac.or.th/Article/Detail/66888
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2557). เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: วิ. ชั่น พริ้นท์ แอนด์ มีเดีย.
อัครเดช ไม้จันทร์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมติดตั้งเครื่องจักรสายการผลิตในจังหวัดสงขลา(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Cronbach, L. J. (1974). Essentials of Psychological Testing. (3rd ed.). New York: Harper and Row.
Dale, E. (1968). Management: Theory and Practice. New York: Grolier.
Gulick, L., & Urwick, J. (1973). Papers on the Science of Administration. New York: Institute of Public Administration.
Fayol, H. (1987). General and Industrial Management. California: David S. Lake Publishers.
Harrington, H. J., & Harrington, J. S. (1996). High-Performance Benchmarking: 20 Steps to Success. New York: McGraw-Hill.
Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.
Zhyber, T. (2020). The conception of Local Budgeting Performance Indicators Storage. International Journal of Multidisciplinary in Management and Tourism, 4(1), 1-10.