การเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี

Main Article Content

วิรันทร์ดา เสือจอย
ศักดิพันธ์ ตันวิมลรัตน์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ (1) การเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี (2) การปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครู และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารหรือผู้ปฏิบัติในโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี จำนวน 80 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลจำนวน 240 คน วิธีการสุ่มแบบแบ่งประเภท คือจำแนกตามขนาดของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


ผลการวิจัยพบว่า 1) การเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) การปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) การเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นความสัมพันธ์แบบคล้อยตามกัน

Article Details

How to Cite
เสือจอย ว., & ตันวิมลรัตน์ ศ. (2021). การเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(3), 1157–1171. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/254130
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง และพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. (2562, 20 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนพิเศษ 68 ง. หน้า 18-20.

ประวิต เอราวรรณ์. (2562). การวิจัยและการพัฒนาองค์การในโรงเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก. หน้า 14.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2555). ศัพท์ศึกษาศาสตร์. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

วีรพงศ์ โฆษิตพิมานเวช และ นิยดา เปี่ยมพืชนะ. (2561). การเสริมสร้างพลังอำนาจครูของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1.วารสารวิชาการและการวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 8(3), 24-31.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี. (2561). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2561-2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี. สิงห์บุรี: กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี. (2563). แผนปฏิบัติการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563. สิงห์บุรี: กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพ: พริกหวานกราฟฟิค.

Cambridge Dictionary. (2020, February 26). Empowerment. Retrieved from https://dictionary. cambridge.org/

Damnoen, P.S., Phumphongkhochasorn, P., Punwasuponchat, N., & Srichan, P.W. (2021). The Development of Learning Management Design Models in Compulsory Subjects of the Master of Education Program in Educational Administration Innovation in Order to Enhance the Characteristics of Learners According to the Needs of the Professional Education Institution Administrators. Turkish Journal of Physiotherapy and Rehabilitation, 32(3), 20459 – 20466.

Greenberg, J. (2011). Behavior in Organizations. (10th ed.). Boston: Pearson Education.

Kinlaw, D. C. (1995). The practice of empowerment: Making the most of human competence. USA: Gower Publishing.

Kõiv, K., Liik, K., & Heidmets, M. (2019). School Leadership, Teacher’s Psychological Empowerment and Work-Related Outcomes. International Journal of Educational Management, 33(7), 1501-1514.

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970) Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Luthans, F. (2011). Organizational Behavior: An Evidence-based Approach. (12th ed). New York: McGraw-Hill.

Newstrom, J. W. (2015). Organization Behavior: Human Behavior at Work. New York: McGraw Hill.

Scott, C. D., & Jaffe, D. T. (1991). Empowerment: Building a Committed Workforce. California: Kogan Page.

Songsraboon, R., Thongtao, J., Damnoen, P.S., & Huanjit, P.S. (2021). Course Management Based on Outcome-Based Education (OBE) of Learning by Working in Real Conditions. Turkish Journal of Physiotherapy and Rehabilitation, 32(3), 20491 – 20499.

Tracy, D. (1990). 10 Steps to Empowerment: A common-sense Guide to Managing People. New York: William Morrow.

Yeo, M. (1993). Toward an Ethic of Empowerment for Health Promotion. Health Promotion International, 8(3), 225-235.