บทบาทผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม

Main Article Content

อภิรัตน์ ช่างเกวียน
มัทนา วังถนอมศักดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม 2) ประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม กลุ่มตัวอย่างคือ สถานศึกษาในสังกัดสำนัก งานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม จำนวน 28 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามเกี่ยวกับบทบาทผู้บริหารตามแนวคิดของมินทซ์เบิร์ก กับประสิทธิผลของสถานศึกษาตามแนวคิดของยูคล์ สถิติที่ใช้คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า


1. บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตมากไปหาน้อย ดังนี้ บทบาทเป็นสัญลักษณ์ขององค์การ บทบาทเป็นผู้นำองค์การ บทบาทเป็นผู้เจรจาต่อรอง บทบาทเป็นผู้ขจัดสิ่งก่อกวน บทบาทเป็นผู้ประกอบการ บทบาทเป็นผู้สร้างความสัมพันธ์ บทบาทเป็นผู้จัดสรรทรัพยากร บทบาทเป็นผู้กำกับติดตามผล บทบาทเป็นผู้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร และบทบาทเป็นผู้ประชาสัมพันธ์ ตามลำดับ


2. ประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด 2 ด้าน และอยู่ในระดับมาก 1 ด้าน เรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตมากไปหาน้อย ดังนี้ ประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือของกระบวนการ นวัตกรรมและการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรมนุษย์และมนุษยสัมพันธ์ ตามลำดับ


3. บทบาทผู้บริหารมีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

How to Cite
ช่างเกวียน อ., & วังถนอมศักดิ์ ม. (2022). บทบาทผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(1), 93–108. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/255047
บท
บทความวิจัย

References

ขัตติยา ด้วงสำราญ. (2564). ศึกษาความสัมพันธ์ภาวะผู้นำของผู้บริหารกับการระดมทรัพยากรของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศิลปการจัดการ, 5(2), 501-512.

ทิพสุคนธ์ บุญรอด และ มัทนา วังถนอมศักดิ์. (2564). ภาวะผู้นำมุ่งบริการของผู้บริหารสถานศึกษากับคุณภาพชีวิตการทำงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วารสารศิลปการจัดการ, 5(2), 486-500.

ธีระ รุญเจริญ. (2557). การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

ปัทมา โสภิตชาติ และ สายสุดา เตียเจริญ. (2560). ทักษะผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 7(2), 80-93.

ปาริฉัตร ช่อชิต และ มัทนา วังถนอมศักดิ์. (2561). สมรรถนะผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(2), 85-95.

พระมหากันตินันท์ เฮงสกุล. (2564). เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 3(1), 1-10.

ไพผกา ผิวดำ. (2564). ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสู่ความสำเร็จของสถานศึกษา. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 3(1), 11-18.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2561) แนวทางการบริหารและการพัฒนาสถานศึกษาสู่...โรงเรียนคุณภาพ. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิก.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. (2561). แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 (พ.ศ. 2561 – 2563). สุพรรณบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). แนวทางการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา : เพื่อพร้อมรับการประเมินภายนอก. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

อภิญญา กลิ่นถือศีล และ วลัยพร ศิริภิรมย์. (2557). บทบาทที่เป็นจริงและบทบาทที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนมาตรฐานสากลจังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 9(3), 447-460.

Damnoen, P. S., Phumphongkhochasorn, P., Pornpitchanarong, S., & Nanposri, N. (2021). Development of Strategies for the Use of Innovative Information in Education for Secondary Schools under the Office of the Basic Education Commission in the Eastern Region. Turkish Journal of Physiotherapy and Rehabilitation, 32(3), 20483 – 20490.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Lunenburg, F. C., & Ornstein, A. C. (2012). Educational Administration: Concepts and Practices. (6th ed.). California: Wadsworth Cengage Learning.

Mintzberg, H. (1973). The Nature of Managerial Work. New York: Harper & Row.

Phumphongkhochasorn, P., Damnoen, P. S., Suwannaprateep, T., & Phoomparmarn, U. (2021). National Educational Standards and the Improvement of Thai Education System with World Class. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(1), 75-86.

Songsraboon, R., Thongtao, j., Damnoen, P. S., & Huanjit, P. S. (2021). Course Management Based on Outcome-Based Education (OBE) of Learning by Working in Real Conditions. Turkish Journal of Physiotherapy and Rehabilitation, 32(3), 20491–20499.

Yukl, G. A. (2013). Leadership in Organizations. (8th ed.). New York: Prentice-Hall.