การบริหารเชิงกลยุทธ์กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดราชบุรี

Main Article Content

สกุนตลา รัตนไพบูลย์วัฒนา
สายสุดา เตียเจริญ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อทราบการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดราชบุรี 2) เพื่อทราบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดราชบุรี และ 3) เพื่อทราบความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเชิงกลยุทธ์กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดราชบุรี โดยใช้ผู้ให้ข้อมูลเป็นหน่วยวิเคราะห์ กลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนเอกชนในจังหวัดราชบุรี จำนวน 28 โรงเรียน โดยมีผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 4 คน ประกอบด้วย ผู้รับใบอนุญาต/ผู้อำนวยการ/รองผู้อำนวยการ จำนวน 2 คน และครูผู้สอน จำนวน 2 คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น จำนวน 112 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารเชิงกลยุทธ์ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า


1. การบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดราชบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงมัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ดังนี้ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม การกำหนดกลยุทธ์ การประเมินและควบคุม และ การนำกลยุทธ์ไปใช้ 


2. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดราชบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงมัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อย ดังนี้ การประเมินผลการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การดำเนินการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การประเมินความต้องการในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการออกแบบวิธีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์


3. การบริหารเชิงกลยุทธ์มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในลักษณะคล้อยตามกัน

Article Details

How to Cite
รัตนไพบูลย์วัฒนา ส., & เตียเจริญ ส. (2022). การบริหารเชิงกลยุทธ์กับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดราชบุรี. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(1), 109–123. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/255057
บท
บทความวิจัย

References

กมลชนก ชมพูพันธุ์. (2564). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมในธุรกิจยุคดิจิทัล. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 5(1), 148-155.

ขัตติยา ด้วงสำราญ. (2564). ศึกษาความสัมพันธ์ภาวะผู้นำของผู้บริหารกับการระดมทรัพยากรของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศิลปการจัดการ, 5(2), 501-512.

จุมพล โพธิสุวรรณ. (2564). พฤติกรรมผู้นำเชิงยุทธศาสตร์. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 135-148.

ชโนทัย เจริญเนือง, ณรงค์ พิมสาร และ สิริกาญจน์ ธนวุฒิพรพินิต. (2563). กลยุทธ์บริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี, 14(3), 31-41.

ทิพสุคนธ์ บุญรอด และ มัทนา วังถนอมศักดิ์. (2564). ภาวะผู้นำมุ่งบริการของผู้บริหารสถานศึกษากับคุณภาพชีวิตการทำงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วารสารศิลปการจัดการ, 5(2), 486-500.

ธีระ รุญเจริญ. (2554). รายงานการวิจัย เรื่องสภาพและปัญหาการบริหารและการจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

เปี่ยมพร ตังตระกูลไพศาล, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ และ เพ็ญวรา ชูประวัติ. (2563). กลยุทธ์การบริหารแบรนด์โรงเรียนเอกชนตามแนวคิดการลดภาระงบประมาณแผ่นดินด้านการศึกษา. วารสารครุศาสตร์, 48(4), 236-256.

พระมหากันตินันท์ เฮงสกุล. (2564). เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 3(1), 1-10.

ไพผกา ผิวดำ. (2564). ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสู่ความสำเร็จของสถานศึกษา. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 3(1), 11-18.

รัชพล เชิงชล. (2561). การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 16(2), 57-73.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (2554). พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ส.ก.ส.ค. ลาดพร้าว.

โสมวลี ชยามฤต. (2564). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับยุคดิจิทัลขององค์การภาครัฐและเอกชน. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 38-50.

Damnoen, P. S., Phumphongkhochasorn, P., Pornpitchanarong, S., & Nanposri, N. (2021). Development of Strategies for the Use of Innovative Information in Education for Secondary Schools under the Office of the Basic Education Commission in the Eastern Region. Turkish Journal of Physiotherapy and Rehabilitation, 32(3), 20483–20490.

Desimone, R. L., Werner, J. M., & Harris, D. M. (2002). Human Resource Development. (3rd ed) Orlando, Harcourt College Publishers.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Songsraboon, R., Thongtao, J., Damnoen, P. S., & Huanjit, P. S. (2021). Course Management Based on Outcome-Based Education (OBE) of Learning by Working in Real Conditions. Turkish Journal of Physiotherapy and Rehabilitation, 32(3), 20491–20499.

Wheelen, T. L., & Hunger, J. D. (2012). Strategic Management and Business Policy: Toward Global Sustainability. (13th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.